| นักอุตุนิยมวิทยาไอซ์แลนด์ เผยภูเขาไฟใน “ไอซ์แลนด์” เริ่มปะทุรอบใหม่ ซึ่งอยู่ใต้ธารน้ำแข็งแผ่นใหญ่ที่สุด | |
|
เอเอฟพี รายงานว่า (22พ.ค.54) ภูเขาไฟกริมสว็อตน์ (Grimsvoetn) ซึ่งอยู่ใต้ธารน้ำแข็งแผ่นใหญ่ที่สุดในไอซ์แลนด์ เริ่มปะทุขึ้นอีกครั้งวานนี้(21) โดยมีกลุ่มควันหนาทึบพวยพุ่งออกมาจากปากปล่องภูเขาไฟ สำนักอุตุนิยมวิทยาไอซ์แลนด์ เผย
ฮารัลดูร์ ไอร์คิสสัน จากสำนักอุตุนิยมวิทยา ระบุ ภูเขาไฟกริมสว็อตน์เกิดการปะทุขึ้นอีกครั้ง และขณะนี้เราได้ส่งเครื่องบินเข้าไปสำรวจเพิ่มเติมแล้ว และมีกลุ่มควันพุ่งขึ้นมาตั้งแต่เวลา 19.00 น. (GMT) และก่อน 20.00 น. (GMT) เล็กน้อย กลุ่มควันเหล่านั้นก็ลอยขึ้นสูงถึง 11 กิโลเมตร”
กริมสว็อตน์ เป็นภูเขาไฟที่มีพลังมากที่สุดในไอซ์แลนด์ และเคยเกิดการระเบิดถึง 9 ครั้งระหว่างปี 1922 ถึง2004 ภูเขาไฟลูกนี้อยู่ภายใต้ธารน้ำแข็งVatnajoekull ซึ่งอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของไอซ์แลนด์
การระเบิดของภูเขาไฟ Eyjafjoell ซึ่งอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของ กริมสว็อตน์ เมื่อเดือนเมษายนปีที่แล้ว ส่งผลให้การจราจรทางอากาศในยุโรปกลายเป็นอัมพาตไปนานร่วมเดือน เนื่องจากสายการบินต่างๆเกรงว่า เถ้าถ่านภูเขาไฟจะทำให้เครื่องยนต์ได้รับความเสียหาย
อย่างไรก็ตาม การระเบิดของภูเขาไฟแต่ละลูกมีความแตกต่างกัน และยังไม่แน่ว่า ภูเขาไฟกริมสว็อตน์จะส่งผลให้มีละอองเถ้าถ่านปกคลุมไปทั่วท้องฟ้า เหมือนเช่นที่เคยเกิดกับ Eyjafjoell หรือไม่
การระเบิดของภูเขาไฟในไอซ์แลนด์เมื่อปีที่แล้วส่งผลกระทบรุนแรง เนื่องจากตัวภูเขาไฟอยู่ใต้ธารน้ำแข็งขนาด 200-300 เมตร และเกิด “ปฏิกิริยาระหว่างน้ำที่เย็นจัดกับแม็กมาที่ร้อนจัด ทำให้อนุภาคเถ้าถ่านภูเขาไฟมีขนาดเล็กมาก” และเป็นอันตรายต่ออากาศยาน ซูซาน สติปป์ อาจารย์ประจำศูนย์วิจัยวิทยาศาสตร์นาโน แห่งมหาวิทยาลัยโคเปนเฮเกน ให้สัมภาษณ์เมื่อเดือนที่แล้ว
ภูเขาไฟกริมสว็อตน์ ก็อยู่ใต้ธารน้ำแข็งบนแอ่งภูเขาไฟ ซึ่งมีเส้นผ่าศูนย์กลางถึง 8 กิโลเมตร
ในอดีต การระเบิดของภูเขาไฟกริมสว็อตน์มักก่อให้เกิดน้ำท่วมใหญ่ ทว่าส่งผลกระทบต่อประชาชนเพียงเล็กน้อย เนื่องจากไม่มีชุมชนอาศัยอยู่โดยรอบ
Meteorologists Icelandic volcano revealed in the "Island" began a new eruption cycle. Underneath the glacier, the largest sheet.
| |
|