วันอาทิตย์ที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2554

คู่มือการเอาตัวรอดจากแผ่นดินไหวภัยพิบัติ (ฉบับมหาวิทยาลัยโตเกียว)

คู่มือการเอาตัวรอดจากแผ่นดินไหวภัยพิบัติ
(ฉบับมหาวิทยาลัยโตเกียว)

ของที่ควรมีติดตัว
1 เงินสด
2 บัตรประจําตัว บัตรคนต่างด้าว
3 ตราปั้มญี่ปุ่น บัตรประกันสุขภาพ
4 น้ำดื่ม (คนละ 3 ลิตร ต่อวัน)
5 อาหารสำรอง(เครื่องกระป๋อง,ขนม)
6 มือถือ & ที่ชาร์จยามฉุกเฉิน
7 ทิชชู่
8 ผ้าขนหนู ประมาณ 5 ผืน
9 ไฟฉาย
10 วิทยุ
11 ร่ม หรือ เสื้อกันฝน
12 เสื้อหนาว เครื่องป้องกันความหนาวต่างๆ
13 ถุงมือทหารหรือถุงมือ
14 หน้ากาก เพื่อป้องกันหนาว หรือ เพื่อไม่ให้สูดควัน
15 ถุงขยะ(ขนาดใหญ่ๆ ดีกว่า) เพื่อป้องกันความหนาว
หรือป้องกันน้ำหรืออาจใช้แทนถังได้ ใช้เวลาฉุกเฉิน
16 saran wrap หรือพลาสติกครอบอาหาร
17 ยางรัด (5-6 เส้น)
18 ผ้าห่ม
19 หนังสือพิมพ์ (ใช้เพื่อหลีกเลี่ยงความหนาว)
20 รูปถ่ายของครอบครัว (เพื่อยืนยันและหาครอบครัวเมื่อพรากกัน)
21 นกหวีด (เพื่อส่งสัญญาณว่ายังมีชีวิตรอด)
22 แว่นตา
23 ยาที่กินประจำ
24 ผ้าอนามัย(ขาดไม่ได้)
25 เครื่องเล่นเพลง(เพื่อฟังธรรรม-เพลงให้สงบ ในบางผลิตภัณฑ์อาจมีระบบวิทยุด้วย)
26 เทปผ้า(ถ้ามี จะสะดวกขึ้น)
27 เบาะ (ถ้ามี เบาะใช้แทนหมวกกันน้อคได้)
28 เครื่องเปิดกระป๋องและมีดเล็กๆ (เผื่อต้องอยู่ในห้องหลบภัยเป็นเวลานาน)

วิธีปฏิบัติตัวยามฉุกเฉิน
1 เปิดหน้าต่างกับประตูไว้
2 วางของสำคัญบริเวณทางเข้าออก
3 ใส่รองเท้าที่มีพื้นหนา
4 ปิดวาล์วใหญ่ของท่อแก๊สหุงข้าว (อาจเกิดอันตรายได้ ต้องดูสถานการณ์ประกอบด้วย)
5 อัดไฟมือถือเมื่อโอกาสอำนวย
6 ปิด circuit breaker เวลาไฟดับ
(ดึงปลั๊กไฟในบ้านออกทั้งหมดก่อนปิด เพราะอาจถูกไฟดูดได้)

กรณีมีแผ่นดินไหวต่อ ภายใน 24 ชั่วโมง
7 ให้สงบใจดีก่อนอื่น
8 ใช้เบอร์โทรศัพท์ที่ฝากข้อความเวลาภัยพิบัติ 171 (บอกลี้ภัยที่ไหน)
9 ใช้โทรศัพท์เท่าที่จำเป็นเท่านั้น
10 ใช้ Skype ได้
11 ให้ระวังโทรศัพท์หลอกลวง ซึ่งจะโทรมาโดยทำทีว่าเป็นตำรวจ

ข้อควรปฏิบัติตอนหลบภัย
1 อยู่ให้ห่างจากตู้เสื้อผ้าหรือตู้เย็นที่ทำท่าจะล้ม
2 ระวังกระจก หรือรั้ว(อาจล้มลงมาทับตัวได้)
3 อยู่ให้ห่างจากกำแพงที่ร้าวหรือเสาที่เอียง
4 หลีกเลี่ยงการผ่านเข้าออกในซอยแคบๆ หรือบริเวณริมหน้าผา ริมแม่น้ำ หรือริมทะเล
5 ผู้ที่อยู่แนวเลียบฝั่งทะเล ให้หลบไปอยู่บริเวณที่สูงๆ
6 ใส่หมวกนิรภัย หรือหมวกอะไรก็ได้เพื่อป้องกันศีรษะ
7 หลีกเลี่ยงการใส่เสื้อที่ทำจากเส้นใยสังเคราะห์ผ้าฝ้ายหรือวัสดุติดไฟง่าย
8 เตรียมหน้ากากหรือผ้าชุบน้ำให้ชุ่มให้พร้อม (เพื่อป้องกันควัน)
9 หากเกิดไฟไหม้ ให้อยู่บริเวณเหนือลม
10 ถ้ามีรถให้เปิดกระจกรถพร้อมเปิดวิทยุเสียงดังเพื่อเป็นการกระจายข่าวให้แก่ผู้อื่น(ถ้าทำได้)

ก่อนเกิดแผ่นดินไหว
1 ตรวจว่ามีหมวกกันน้อคหรือไม่
2 ตรวจว่ามีอาหารสำรองหรือไม่
3 ตรวจว่ามีน้ำสำรองหรือไม่
4 ตรวจว่ามีอุปกรณ์ปฐมพยาบาลหรือไม่
5 ตรวจว่ามีถุงนอนหรือไม่
6 ตรวจทางหนีภัยว่ามีหรือไม่
7 ใส่ถุงเท้านอน
8 วางรองเท้าไว้ใกล้ตัว ถ้าเป็นไปได้หาที่ส้นหนาๆ หน่อย
9 ปิดม่านนอน เพื่อป้องกันเศษแก้วจากกระจกเวลาแตก
10 วางผ้าขนหนูกันไว้ระหว่างประตู เผื่อประตูปิดเบี้ยวกันให้เปิดประตูได้

(ที่มา: http://www.facebook.com

[ตัวอย่าง] การเตรียมอุปกรณ์ กระเป๋าเป้ฉุกเฉิน หรือ Emergency & Survival Bag (ฉ.คนไทย)
โดยอาสาสมัครฟื้นฟูประเทศไทย


เป็นเป้ฉุกเฉินชุดที่เตรียมไว้ในที่พักอาศัย สำหรับยามเกิดพิบัติประเภทต่างๆ โดยรวมสิ่งของที่จำเป็นไว้ในเป้สามารถคว้าได้ทันที สำหรับดำรงชีพในเวลา 3-7 วัน หรือในระยะยาวกว่านั้น

รายละเอียด
-เป้หลัก Lowe alipne(สำเนา) สีแดงสด มีแถบสะท้อนแสงชัดเจน ....ประมาณ 900 บาท
-เป้สำรองแบบย่ามมีหูรูด เผื่อใช้ยามเป้หลักชำรุดหรือมีสิ่งของต้องขนมากขึ้น หรือใช้แยกของเป็นสัดส่วนได้ ....... 50 บาท
-กล่องอุปกรณ์ฉุกเฉิน SurvivalKit (ใส่ไว้ในเป้หลัก) .........ประมาณ 300 บาท

อุปกรณ์สื่อสารและส่งสัญญาณ
-ไฟฉาย หลัก เป็นไฟฉายคาดศีรษะ ใช้ได้โดยมือว่างทั้งสองข้าง เปลี่ยนฝาหน้าเป็นสัญญาณฉุกเฉินสีแดงได้ (Petzl tactikka plus)..........ประมาณ 1,400 บาท
-วิทยุพลังงานแสงอาทิตย์และมือหมุน ใช้รับฟังข่าวสารทางวิทยุ AM/FM ได้
เป็นไฟฉายสำรอง สามารถชาร์จโทรศัพท์มือถือฉุกเฉินได้ (Eton Microlink FR150) ..........ประมาณ 1,300 บาท
-วิทยุmp3 ฟังเสียงธรรมของครูบาอาจารย์ เป็นที่ยึดเหนี่ยวสงบจิตใจยามเกิดภัยพิบัติ ใช้เก็บข้อมูลสำคัญ เป็นวิทยุสำรอง และเป็นการใช้ถ่านที่มีให้หมดจนก้อนสุดท้าย.............ของเดิม
-กล่อง พลาสติคล็อค ขนาดกลางแข็งแรง เพื่อให้มั่นใจว่าอุปกรณ์อิเลคโทรนิคปลอดภัยกันน้ำเข้า ภายในกล่องบุโฟมกันกระแทก ใช้ใส่อุปกรณ์สื่อสารอิเลคโทรนิคทุกประเภท -ไฟฉายคาดศีรษะ วิทยุไฟฉาย วิทยุmp3 โทรศัพท์มือถือ หัวต่อประเภทต่างๆ และ battery ไว้ในกล่องเดียว.............ของเดิม
-(อาจเพิ่มอุปกรณ์แปลงไฟจากรถยนต์เข้ามือถือ)
*(ไฟฉายคาดศีรษะและวิทยุmp3 ใช้แบต AAA เหมือนกันเพื่อความสะดวกในการหยิบใช้แทนกันได้)
-แบตเตอรี่ ถ่านสำรอง
-นกหวีดหลัก Fox pearl เสียงดัง มีมาตรฐาน เป่าเมื่อเปียกน้ำได้ เลือกสีสะท้อนแสง..............250 บาท
-นกหวีดเล็กสำรอง ................30 บาท
-*สีเทียนหรือเมจิก 1 แท่งใช้เขียนบนพื้นผิวขุขระต่างๆทำเครื่องหมาย ป้ายข้อความ สัญลักษณ์ขนาดใหญ่ ได้
-แท่ง เรืองแสงสีน้ำเงิน x3 ใช้ส่องสว่างส่งสัญญาณขอความช่วยเหลือยามฉุกเฉินได้รวดเร็ว เลือกสีน้ำเงินเพราะคิดว่าสามารถมองเห็นได้ชัดทั้งในป่าหรือที่มีต้นไม้และ ในเมือง ............120 บาท

อุปกรณ์ประเภทมีด,คีม และ มีดอเนกประสงค
-มีดขนาดกลางใบเรียบ LAND GB-910 เป็นมีดหลัก ............ประมาณ 400 บาท จากร้าน Kitcamp
-มีดพับอเนกประสงค์ Victorinox Huntsman มีมีด ที่เปิดขวดเปิดกระป๋อง กรรไกร เลื่อย ไขควง และอื่นๆ ...............500 บาท จาก TKT
-มีดพับอเนกประสงค์(ขนาดเล็ก) Vic sd มี มีด ตะไบ กรรไกร แหนบ ใช้กับชุดปฐมพยาบาล...........100 บาท จาก TKT
-คีม multitools ไม่ทราบยี่ห้อ คุณภาพน่าจะพอไว้วางใจได้ ใช้ตัดลวดแล้วไม่บิ่น ............50 บาท จาก TKT (ใช้ดัด-ตัด ชุดขดลวดที่เตรียมไว้ได้)

อุปกรณ์สำหรับต้มน้ำ ทำอาหาร
-หม้อถ้วยแสตนเลส สำหรับต้มน้ำให้สุกฆ่าเชื้อโรค-ทำอาหาร GI-Canteen cup .............100 บาท
-สกอตไบรท์ ทำความสะอาดภาชนะ และสิ่งของอื่น
-แอลกอฮอลล์แข็ง x2 สำหรับทำอาหารยามจำเป็นได้ 2 มื้อเล็ก โดยไม่ต้องใช้เชื้อเพลิงก่อไฟ...........10 บาท

อุปกรณ์ทำความสะอาดและปฐมพยาบาล
-กระเป๋ายาปฐมพยาบาล FirstAid Kit จากร้าน Boot's .............100 บาท
*(ยาแก้เชื้อราน้ำกัดเท้าหลอดใหญ่เพื่อทาแก้เชื้อรา ฮ่องกงฟุต ซึ่งเป็นโรคที่พบมากจากอุทกภัยน้ำท่วม)
-เสปรย์กันยุงแมลง 2 ขวดเล็ก ทิ้งได้เมื่อหมด ไม่ต้องพกทั้งขวด
-babywipe ทิชชู่เปียก สำหรับทำความสะอาดร่างกายแทนการอาบน้ำ ยามเกิดภัยพิบัติ น้ำสะอาดขาดแคลน .............50 บาท
-ทิชชู่ แบบใช้งานอเนกประสงค์ (เหนียวและซับมากกว่าแบบธรรมดา) ใส่ในกล่องมีฝาปิดของ babywipe เดิมที่ใช้หมดแล้ว เพื่อหยิบใช้สะดวกกันน้ำ
-ทิชชู่แบบธรรมดา
-แปรงสีฟัน
-เจลล้างมือ ฆ่าเชื้อโรค เนื่องจากยามเกิดภัยพิบัติหรือหลังจากนั้นอาจมีโรคระบาดการทำความสะอาดฆ่าเชื้อเป็นสิ่งจำเป็น
-น้ำยา ฆ่าเชื้อโรคเดทตอลขวดเล็ก ใช้ละลายน้ำฆ่าเชื้อโรคทำความสะอาดสิ่งต่างๆในปริมาณมาก
-ถุงพลาสติกใบใหญ่และเล็กหลายขนาด
-ขวด พลาสติดเล็กใส่น้ำยาบ้วนปากและน้ำมันมะกอก สำหรับกันผิวแห้งจากความร้อน-เย็น นวดคลายกล้ามเนื้อ หล่อลื่นไม่ให้มีดพับ multitools เป็นสนิม *บรรเทาอาการเชื้อราตามผิวหนังจากน้ำท่วม

อุปกรณ์ปกป้องและป้องกันร่างกาย
-ผ้าปิดจมูกแบบใช้แล้วทิ้ง x 12 ผืน จากร้านไดโซะ 60 บาท
-ถุงมือหนัง ป้องกันมือบาดเจ็บจากการหยิบจับสิ่งของ เช่นเศษซากปรักหักพัง...........50 บาท
-ถุงมือผ้า หยิบจับสิ่งของเล็กน้อยและกันหนาว
-ถุงมือพลาสติก x24 ข้าง เผื่อหยิบจับสิ่งสกปรก หรือทำแผล
-ผ้าห่มอวกาศ x2 ผืน เพื่อรักษาอุณหภูมิร่างกายยามจำเป็นฉุกเฉิน ใช้ปิดถ้วยหม้อสเตนเลสให้สุกเร็วขึ้น
ใช้รองสะท้อนแสงอาทิตย์สำหรับวิธีทำน้ำสะอาดด้วยแสงอาทิตย์ จากร้านไดโซะ 60 บาท .........120 บาท
-เสื้อคลุมกันฝนแบบพลาสติก ............20 บาท
-*แว่น ตาว่ายน้ำ ใช้ป้องกันดวงตาได้ดียามเกิดภัยพิบัติ จากฝุ่นทราย ฝุ่นควัน แก๊สน้ำตา ละอองน้ำ พายุฝนตกหนักต่างๆ ได้ดี หรือสิ่งของเล็กๆที่มากับลมหรือน้ำท่วมได้ ใช้ดำน้ำยามน้ำท่วมได้ถ้าจำเป็น เพิ่มขอบเขตการมองเห็น.............ของเดิม

เชือก
-เชือกเปล 10 เมตร สำหรับผูกมัดโยงสิ่งของสำภาระต่างๆ............60 บาท
-เชือกเล็ก 6 เมตร ใช้ผูกสิ่งของเล็กๆน้อยๆ เลือกมีสีสะท้อนแสง *อาจใช้เป็นสัญลักษณ์เครื่องหมายได้..........30 บาท
-เชือกเอ็น 1 ม้วน 50 เมตร
-เชือกฟาง
-แลคซีนเทป เทปกาวผ้า ใช้ปะซ่อมแซมสิ่งของ

*เนื่องจากกระเป๋าเป็นของสำเนาแม้จะดูแล้วทนทานแต่ไม่มั่นใจเต็ม 100 เปอร์เซนต์จึงมีกระเป๋าสำรองไว้เผื่อฉุกเฉิน
*ขวด น้ำพลาสติก 1 ลิตร กับ 500 มิลลิลิตร แบบดูแล้วทนทานหน่อย สำหรับใช้ใส่น้ำ ใช้กับยาเม็ดทำน้ำสะอาดได้ 1 เม็ดและครึ่งเม็ดพอดี และสามารถใช้กับอลูมิเนียมฟลอยด์เพื่อทำน้ำสะอาดด้วย uv จากแสงอาทิตย์
*บางอย่างอาจไม่เอาไป เช่นขวดน้ำยาบ้วนปากหรือหนังสือบางเล่ม แต่ลงไว้เผื่อเป็นไอเดียสำหรับท่านอื่นครับ

-การ จัดชุดเป้ฉุกเฉินของผม เริ่มจาก ของหลักๆคือกล่องอุปกรณ์ฉุกเฉิน และ กระเป๋า-รองเท้า ก่อน จากนั้นค่อยไปส่วนอื่นๆเช่น ไฟฉาย มีด ยา เชือก ฯลฯ
-อุปกรณ์ทั้งหมดนี้ไม่ได้ซื้อทีเดียวแต่ทยอยค่อยเก็บไปทีละน้อย
-ถือ ว่าเกือบครบสมบูรณ์แล้วครับ อาจมีปรับเปลี่ยนอีกนิดหน่อย สิ่งที่คิดว่าอาจเพิ่มเติมคือ ฟลายชีทกันแดดฝน กับ ผ้าห่มฟรีสบางกันหนาว และ น้ำเกลือจำนวนหนึ่งสำหรับล้างแผล
-(ถ้า ใช้กระเป๋าเป้ใบที่มีอยู่แล้ว หรือใช้ไฟฉายมือหมุนและ ใช้วิทยุเล็กแบบใส่ถ่านก็จะประหยัดได้มากขึ้นอีกแต่ได้อุปกรณ์จำเป็นครบใกล้ เคียงกัน ชุดฉุกเฉินอาจใช้ของที่มีอยู่แล้วได้เช่นรองเท้า แล้วอาจค่อยไปลงรายละเอียดของแต่ละชิ้นภายหลังตามความเหมาะสมและงบประมาณของ แต่ละท่าน)
ราคารวมอุปกรณ์ ประมาณ 5,000 บาท + ชุดปฐมพยาบาล และยาต่างๆประมาณ 500 บาท = 5,500 บาท

หนังสือ
-วิธีรอดตายจากภัยพิบัติ
-คู่มือปฐมพยาบาล หมอชาวบ้าน
-แผนที่ทางหลวง

น้ำหนักกระเป๋าฉุกเฉิน
ประมาณ 4 กิโลกรัม ไม่รวมเสื้อผ้าและอาหาร
ประมาณ 5 กิโลกรัม รวมเสื้อผ้าและอาหารสำหรับ 3 ถึง 5 วัน


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย เกษม : วันนี้ เมื่อ 09:24 AM