วันอังคารที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2554

เขื่อนสามผา ประเทศจีน

ห่วงเขื่อนยักษ์ที่จีนนั่นแหละ ที่จริงต้องบอกว่า ห่วงประเทศที่อยู่ด้านล่างจีน ในแนวเดียวกับเขื่อน จังหวะนี้ แผ่นดินไหวเริ่มถี่เริ่มหนักอีกแล้ว เขื่อนนั่น ตั้งอยู่บนรอยเลื่อนแผ่นดินไหวใช่ไหม




...

สิบห้าปีหลังจากจีนเริ่มต้นลงมือสร้างเขื่อนยักษ์
บริเวณ “สามผา” (ซานเสีย)

มาถึงตอนนี้การก่อสร้าง “เขื่อนสามผา”
(ซานเสียต้าป้า -Three Gorges Dam)

ซึ่งถือเป็นความภาคภูมิใจแห่งความก้าวหน้า
ทางด้านวิศวกรรมของจีน
ก็กำลังใกล้ที่จะเสร็จสิ้นสมบูรณ์
ทว่าเสียงวิพากษ์วิจารณ์ที่ระงมกึกก้องออกมา
ประดุจการระดมยิงด้วยปืนใหญ่
ต่อเขื่อนที่ใหญ่ที่สุดในโลก
และใช้ต้นทุนสูงที่สุดในประวัติศาสตร์แห่งนี้
ก็ยังไม่มีทีท่าจะยุติจางคลายไปเลย



- บริเวณที่เรียกว่า หุบเขาสามผา
( Three Gorges canyons)





(ภาพจาก http://edition.cnn.com)

เวลา 15 ปีที่ใช้ในการก่อสร้าง
สิ้นค่าใช้จ่ายมหาศาลระหว่าง 8,000 ล้าน ถึง 27,000 ล้านดอลลาร์
(ประมาณ 240,000 - 810,000 ล้านบาทไทย)

ในเร็ววันนี้ระดับน้ำในอ่างเก็บกักน้ำยักษ์หลัง “เขื่อนสามผา” บนแม่น้ำแยงซีเกียง
ก็จะเพิ่มถึงระดับสูงสุดขั้นสุดท้ายนั่นคือที่ 175 เมตร (ประมาณตึกสูง 44 ชั้น)




(ภาพจาก http://www.greendiary.com)

ประชาชน 1.3 ล้านคนต้องอพยพพลัดพราก
จากบ้านเรือนที่เคยอยู่อาศัย






ภายในประเทศเอง พวกเขากำลังเผชิญกับการถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่า
การผันน้ำเติมเข้าไปในเขื่อน กำลังทำให้ภาวะภัยแล้งในแถบสามเหลี่ยมปากแม่น้ำยิ่งรุนแรงขึ้นไปอีก

ส่วนภายนอกประเทศ ที่จีนพยายามหาทางส่งออกแบบจำลองการพัฒนาแบบ “สามผา”
ซึ่งมุ่งเน้นการสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศด้วยการสร้าง โครงการโครงสร้างพื้นฐานใหญ่ๆ ดังเช่น เขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำขนาดยักษ์เช่นนี้
พวกวิศวกรจีนก็ต้องประสบกับแรงคัดค้านในประเทศต่างๆ

นักการทูตจีนต้องเผชิญกับระลอกคลื่นแห่งความไม่พอใจที่ซัดสาดสูงขึ้นเรื่อยๆ
จากการที่ปักกิ่งพยายามขยาย “การทูตไฟฟ้าพลังน้ำ” ไปทั่วเอเชียและแอฟริกา


เหตุผลหนักแน่นที่สุดที่ทำให้ปักกิ่งรลดการเฉลิมฉลองเปิดเขื่อน
อาจจะเป็นเพราะว่าเขื่อนสามผากำลังมีสภาพเป็นอนุสาวรีย์แห่งความทะเยอทะยานที่ล้าสมัยไปเสียแล้ว

ในขณะที่ปัจจุบันจีนกำลังหันไปหา “พลังงานหมุนเวียน” รูปแบบใหม่ๆ มากขึ้นเรื่อยๆ
และกระทั่งอวดอ้างควาเมป็นผู้นำในกระแสคลื่นลูกต่อไปแห่งการพัฒนาสีเขียว
เขื่อนยักษ์แห่งนี้จึงเหมือนกลายเป็นการส่งสัญญาณที่สร้างความสับสนว่าจีนจะจัดลำดับความสำคัญอย่างไรกันแน่

“เขื่อนสามผาเป็นแบบจำลองสำหรับใช้กันในอดีต”
เป็น ความเห็นของปีเตอร์ บอสชาร์ด ผู้อำนวยการฝ่ายนโยบายขององค์การแม่น้ำระหว่างประเทศ ซึ่งตั้งสำนักงานอยู่ในแคลิฟอร์เนีย และประกาศภารกิจที่จะ “คุ้มครองแม่น้ำและชุมชนที่พึ่งพาอาศัยแม่น้ำ”

“มีวิธีที่ฉลาดกว่าตั้งเยอะในการที่เราจะผลิตไฟฟ้าและบริหารจัดการน้ำท่วม
ดีกว่าจะไปสร้างโครงการขนาดยักษ์ๆ ทั้งหลายซึ่งล้าสมัยไปเสียแล้ว”
บอสชาร์ดกล่าวต่อ

การสร้างเขื่อนมหึมากั้นแม่น้ำแยงซีเช่นนี้ สามารถสาวย้อนหลังไปได้ว่า
เป็นความฝันประการหนึ่งของซุนยัตเซ็น บิดาผู้สถาปนาประเทศจีนสมัยใหม่
ด้วยการโค่นล้มราชวงศ์ชิงในปี 1911

ประธานเหมาเจ๋อตงก็เป็นผู้สั่งให้ขุดดินก้อนแรก ๆในโครงการนี้
เพียงแต่ว่าความปั่นป่วนวุ่นวายของการปฏิวัติทางวัฒนธรรม (ปี1966-76)
ได้เข้ามาขัดขวางทำให้โครงการต้องหยุดชะงักไป
ผู้นำทั้งสองคนนี้ต่างเห็นว่าเขื่อนยักษ์คือหนทางที่จะควบคุมภัยน้ำท่วม
ที่สร้างภัยพิบัติต่อดินแดนตอนล่างของลุ่มแม่น้ำแยงซีอยู่เรื่อยๆ
รวมทั้งจะเป็นกระดูกสันหลังให้แก่โครงข่ายกระแสไฟฟ้าระดับชาติได้ด้วย

และบัดนี้มันไม่ใช่ความฝันอีกต่อไปแล้วแต่คือความเป็นจริง
เขื่อนสามผามีศักยภาพที่จะผลิตไฟฟ้าได้ถึง 18,000 เมกะวัตต์

แต่ทว่าในกระบวนการของการก่อสร้างได้ทำให้หมู่บ้าน 1,350 แห่งต้องจมน้ำไป
และประชาชน 1.3 ล้านคนต้องอพยพพลัดพรากจากบ้านเรือนที่เคยอยู่อาศัย





1ในจำนวนหมู่บ้าน 1,350 แห่งที่ต้องจมน้ำไป จากการสร้างเขื่อนนี้
(ภาพจาก http://www.sauer-thompson.com)

มันไม่เพียงเป็นโครงการไฟฟ้าพลังงานที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกเท่านั้น
หากยังเป็นโครงการที่มีค่าใช้จ่ายแพงที่สุดเท่าที่เคยมีมาอีกด้วย

เมื่อตอนที่ได้รับการอนุมัติให้เดินหน้าสร้างได้ในปี 1992
มีการประมาณการเอาไว้ว่าเขื่อนนี้จะต้องใช้เงินลงทุน 57,000 ล้านหยวน (8,300 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ)

เมื่อเวลาผ่านไป มันก็เพิ่มขึ้นกลายเป็น 27,000 ล้านดอลลาร์
ถ้าถือตามตัวเลขที่รัฐบาลจีนยอมรับ และทะยานไปถึง 88,000 ล้านดอลลาร์ด้วยซ้ำ
ตามการประมาณการของบุคคลภายนอกบางราย




ภาพถ่ายดาวเทียมที่แสดงให้เห็นภูมิทัศน์ที่เปลี่ยนแปลงหลังจากการสร้างเขื่อน
(ภาพจาก http://dsc.discovery.com)


นอกเหนือจากค่าใช้จ่ายแอบแฝงของเขื่อนแห่งนี้ยังกำลังเริ่มต้นปรากฏออกมาให้เห็นในเวลานี้

การปิดกั้นกระแสน้ำในแม่น้ำได้เปลี่ยนแปลงระบบนิเวศของแยงซี
ในระดับที่กำลังทำให้พวกโลมาแม่น้ำและปลาสเตอร์เจียนทำท่าจะต้องสูญพันธุ์

การประมงเพื่อการพาณิชย์ในแยงซีและบริเวณนอกปากแม่น้ำในทะเลจีนตะวันออก
ก็เสื่อมทรุดอย่างฮวบฮาบ

ผลข้างเคียงที่เป็นความหายนะอย่างอื่นๆ ยังมีอาทิ แหล่งน้ำจืดต่างๆ เกิดเป็นมลพิษ, ดินถล่มอย่างรุนแรงที่ทำให้ผู้คนเสียชีวิต, และความเสี่ยงที่จะเกิดแผ่นดินไหวก็เพิ่มสูงขึ้น


ในเดือนกันยายน 2007 เจ้าหน้าที่รัฐบาลหลายคนยอมรับว่า

“ถ้าหากไม่ดำเนินมาตรการในทางระวังป้องกันแล้ว
ก็อาจจะกลายเป็นภาวะล่มสลายทางสิ่งแวดล้อม”


อดีตนายกรัฐมนตรี หลี่เผิง ผู้ร่ำเรียนสำเร็จการศึกษามาจากวิศวกรรมศาสตร์
ที่เป็นพลังขับดันเบื้องหลังโครงการนี้ และก็จะเป็นที่จดจำรำลึกเนื่องจากเขื่อนแห่งนี้ด้วย
ในปี 1992 หลี่พยายามอย่างหนักจนประสบความสำเร็จในการกดข่มเสียงคัดค้านต่อโครงการนี้ ภายในประเทศจีน และกระทุ้งกดดันจนรัฐสภาอนุมัติให้สร้างเขื่อน

พวกผู้เชี่ยวชาญบอกว่าความพยายามเหล่านี้มีแรงจูงใจจากการที่หลี่
ปรารถนาที่จะสร้างมรดกทางการเมืองของตัวเขาขึ้นมาใหม่
ภายหลังการปราบปรามประชาธิปไตยที่จัตุรัสเทียนอันเหมินเมื่อปี 1989
ซึ่งเขาเป็นผู้กำกับควบคุม




เขื่อนยักษ์ “สามผา” สถานีพลังงานไฟฟ้าที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก
สามารถทำงานอย่างเต็มรูปในปี 2011

(ภาพจาก http://www.blogthebest.com/2009/04/three-gorges-dam/)

การก่อสร้างเขื่อนกั้นแม่น้ำแยงซี “เป็นเหตุการณ์ที่ไม่เพียงแต่สร้างแรง บันดาลใจให้แก่ประชาชนเท่านั้น หากยังสาธิตให้เห็นความยิ่งใหญ่แห่งผลสำเร็จของการพัฒนาประเทศจีนอีกด้วย”
เขากล่าวเช่นนี้ในปี 1997 ขณะเป็นประธานในพิธีฉลองวาระการผันแม่น้ำไปสู่จุดที่จะสร้างเขื่อน



(สำนักข่าวอินเตอร์เพรสเซอร์วิส)



ในกรุงปักกิ่ง ก็มีการรายงานถึงผลกระทบจากโครงการเขื่อนใหญ่เป็นข่าวเล็กๆ
โดยผู้แทนประชาชนของจีนได้เผยถึงความเสี่ยงภัยพิบัติธรรมชาติที่กลัวมากจากเขื่อนสามโตรก หรือซันเสีย (Three Gorges) ซึ่งเป็นเขื่อนใหญ่ที่สุดในโลกที่จีนได้สร้างขึ้นท่ามกลางเสียงวิพากษ์วิจารณ์จากทั่วโลกเช่นกัน

สื่อจีน เป่ยจิง ไทมส์ เผยว่า นาย ถัง ซีเว่ย รองนายกเทศมนตรีนครฉงชิ่ง
ได้แถลงต่อที่ประชุมสมัชชาผู้แทนประชาชนแห่งชาติจีน (เอ็นพีซี)
หรือ รัฐสภาระหว่างการประชุมประจำปี ระบุว่า พื้นที่รอบอ่างเก็บน้ำของเขื่อนสามโตรก กำลังประสบปัญหาน่าวิตก จากภัยพิบัติทางธรณีวิทยา การกลายสภาพเป็นทะเลทราย และมลพิษน้ำ




นับจากเขื่อนสามโตรกผุดขึ้นมา ก็มีรายงานข่าวแผ่นดินถล่มบ่อยครั้ง
ซึ่งกลุ่มผู้เชี่ยวชาญชี้ว่าเป็นผลกระทบจากเขื่อน

และในการแถลงต่อรัฐสภา นายถัง รองพ่อเมืองฉงชิ่ง สรุปข้อมูลล่าสุดว่า
ได้เกิดภัยพิบัติทางธรณีวิทยาแล้ว 252 ครั้งในบริเวณอ่างเก็บน้ำเขื่อนสามโตรก
นอกจากนี้ กลุ่มผู้เชี่ยวชาญยังได้คาดการณ์กันว่าอาจเกิดภัยพิบัติ
ในบริเวณอ่างเก็บน้ำอีก 2,500 แห่ง หากน้ำในอ่างเก็บน้ำเพิ่มสูงขึ้น




ทั้งนี้จีนได้ระงับแผนการเพิ่มระดับน้ำในอ่างเก็บน้ำเขื่อนสามโตรกในเดือนพ.ย.ปีที่ผ่านมา
ซึ่งตามแผนฯจะเพิ่มถึง 175 เมตร เนื่องจาก กลัวภัยพิบัติแผ่นดินถล่มจะสูงขึ้นตามด้วย
นอกจากนั้น ระดับน้ำที่เพิ่มยังอาจทำให้รอยแยกจากแผ่นดินถล่มเดิม เกิดปริแยกออกไปอีก
เนื่องจากดินบริเวณรอบเขื่อนจะยิ่งอิ่มน้ำ และอ่อนตัวลง

และก่อนหน้ากลุ่มผู้เชี่ยวชาญจีนได้ชี้ว่าปัญหาภัยพิบัติทางธรณีวิทยาที่เกิดขึ้นดังกล่าว
เป็นลางบ่งชี้ถึง “ปัญหาที่ไม่อาจคาดหมาย” จากผลกระทบเขื่อนสามโตรก


ดังนั้นนครฉงชิ่งจึงได้เสนอแผนโยกย้ายคนออกจาก พื้นที่รอบอ่างเก็บน้ำอีก 4 ล้านคนระหว่าง 10 ปีข้างหน้านี้ ซึ่งมากกว่าการอพยพในช่วงก่อสร้างเขื่อนถึง 3 เท่า! โดยแผนนี้ได้รับการอนุมัติจากรัฐบาลแล้ว





เขื่อน สามโตรก เป็นเขื่อนใหญ่ที่สุดในโลก ตั้งอยู่ในพื้นที่หุบเขาซีหลิงเสีย เมืองอี๋ชัง ในมณฑลหูเป่ย ที่มีระบบนิเวศวิทยาที่เปราะบาง ซึ่งมีพื้นที่ติดต่อกับเขตตะวันออกเฉียงเหนือของมหานครฉงชิ่ง

ความมโหฬารของเขื่อนสามโตรก เฉพาะตัวเขื่อนมีความยาวร่วม 3 กิโลเมตร
และต้องปล่อยน้ำท่วมเมืองต่างๆที่ตั้งอยู่ริมฝั่งแยงซีเกียง 116 เมือง
เพื่อเป็นอ่างเก็บน้ำซึ่งมีความยาว 640 กิโลเมตร


ในตอนนั้น จีนต้องโยกย้ายประชากรออกจากพื้นที่ 1.4 ล้านคน
ซึ่งได้ทุบสถิติด้านการย้ายคนออกจากพื้นที่ครั้งใหญ่สุดในโลกเช่นกัน



จีนใช้เวลาสร้างเขื่อนยักษ์นี้นาน 15 ปี เริ่มจากปี 2537 โดยเฟสสุดท้ายแล้วเสร็จเมื่อปี 2552 สำหรับงบประมาณก่อสร้างเขื่อนสามโตรกที่เปิดเผย เท่ากับ 22,000 ล้านเหรียญสหรัฐ




แผนที่แสดงต้นน้ำ แม่น้ำโขงและแม่น้ำแยงซี



(ข้อมูลจาก ASTVผู้จัดการออนไลน์ 12 มีนาคม 2553
ภาพจาก internet)


[COLOR=brown]"เวลา 15 ปีที่ใช้ในการก่อสร้าง
สิ้นค่าใช้จ่ายมหาศาลระหว่าง 8,000 ล้าน ถึง 27,000 ล้านดอลลาร์
(ประมาณ 240,000 - 810,000 ล้านบาทไทย)
ในเร็ววันนี้ระดับน้ำในอ่างเก็บกักน้ำยักษ์หลัง “เขื่อนสามผา” บนแม่น้ำแยงซีเกียง
ก็จะเพิ่มถึงระดับสูงสุดขั้นสุดท้ายนั่นคือที่ 175 เมตร (ประมาณตึกสูง 44 ชั้น)"



ปัจจุบัน เขื่อนยักษ์แห่งนี้ กำลังถูกมองว่าเป็นต้นตอก่อภัยแล้งหฤโหด

..........................




แม่น้ำแยงซีที่แห้งเหือด ทางตะวันออกเฉียงใต้ของเขตเทศบาลนครฉงชิ่ง
ซึ่งได้รับผลกระทบจากการลดลงของระดับน้ำจากเขื่อนสามผา
ภาพจาก STR/AFP/Getty (
http://ufokaokala.com/index.php?topic=3628.0)

.....................

แม้เป็นช่วงหน้าฝน แต่ดินแดนพญามังกรจีนยามนี้
กลับเผชิญหน้ากับปัญหาภัยแล้งที่รุนแรงที่สุดในรอบครึ่งศตวรรษ




ภาพเรือหาปลาของชาวประมงที่เคยล่องอยู่บนผืนน้ำ
ทะเลสาบเผ่าหยางในวันนี้เหลือเพียงแค่พื้นดินแห้งๆ กับน้ำปริ่มก้นทะเลสาบ และวัชพืชที่ขึ้นปกคลุมไปทั่วบริเวณ

ชาวบ้านหลายล้านคนต่างขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภค และพื้นที่การเกษตรเองก็ได้รับความเสียหายอย่างหนัก





ผู้คนเริ่มลงความเห็นว่า สาเหตุของภัยแล้งจัดในพื้นที่ภาคกลาง
ที่ก่อความเสียหายทางเศรษฐกิจแล้ว 2,300 ล้านดอลลาร์ หรือราว 69,000 ล้านบาท
มาจาก "เขื่อนสามผา" เขื่อนกักเก็บน้ำขนาดมโหฬารที่สุดของโลก




...



"นี่คือปริมาณน้ำน้อยที่สุด
ที่ผมเคยเห็นกว่า 30 ปีที่ผ่านมา
มันไม่มีอะไรที่พวกเราทำได้"
เถา จิ้นกุน ชาวประมงรูปร่างผอมบางแห่งทะเลสาบเผ่าหยาง กล่าว

โดยปกติแล้วในปีๆ หนึ่ง นายเถามีรายได้ราวๆ 180,000 บาท
แต่ด้วยความแห้งแล้งของปีนี้
เขามองอนาคตอย่างท้อแท้ว่า คงไม่มีรายได้เข้ามา

"ผมหวังว่ารัฐบาลจะปล่อยน้ำจากเขื่อนสามผา
เพราะถ้ามีน้ำ อย่างน้อยๆ เราก็ทำมากินได้"
เถา กล่าวทิ้งท้าย



จากรายงานรัฐบาลจีนได้ปล่อยน้ำร้อยละ 80 ของปริมาณน้ำสำรองไปแล้ว เพื่อบรรเทาทุกข์แก่ประชาชน
ในพื้นที่ปลายน้ำเป็นทางยาวร่วม 660 กิโลเมตร
แต่ระดับน้ำในแม่น้ำแยงซีก็ลดลง จนเสี่ยงต่อระดับที่น้ำทะเลจะล้นเข้ามากระทบต่อน้ำประปาที่ประชาชน 23 ล้านคนใช้อยู่

ชาวบ้าน และนักวิทยาศาสตร์หลายคนปักใจเชื่อว่า
นอกจากเขื่อนสามผาจะกักน้ำในแม่น้ำแยงซีเกียงแล้ว
ยังมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ จนกลายเป็นสถานการณ์เลวร้าย

แม้ภาครัฐจะเคยออกมาปฏิเสธความเชื่อมโยงระหว่างเขื่อนและภัยแล้ง ว่า
เขื่อนสามผาเป็นเขื่อนผลิตไฟฟ้าที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก
สร้างสำเร็จเป็นรูปร่างในปี 2549 เพื่อป้องกันปัญหาน้ำท่วม ตามพื้นที่ในลุ่มแม่น้ำแยงซี
ทั้งผลิตกระแสไฟฟ้าจำนวนมหาศาล ที่ใช้ในภาคอุตสาหรรมของประเทศ
จึงกล่าวได้ว่า มีบท บาทช่วยผลักดันเศรษฐกิจอันเฟื่องฟูของประเทศในขณะนี้
มากกว่าสร้างความเสียหายให้แก่ประชาชน












"หลายๆ สิ่งเปลี่ยนไป หลังจากมีเขื่อนสามผา" ฟ่าน กัวเฟิง วัย 46 ปี
ชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้านจิวเจียง ริมแม่น้ำแยงซีมานานกว่า 30 ปี กล่าว

บ๊อบ บร็อดฟุต นักเศรษฐศาสตร์ประจำบริษัทที่ปรึกษาความเสี่ยงทางการเมืองและเศรษฐกิจ ซึ่งทำงานให้โครงการต่างๆ ในจีนมานานกว่า 30 ปี กล่าวว่า
สถานการณ์นี้ทำลายภาพของการพัฒนาที่ยั่งยืนของจีนในด้านการรับรู้มากทีเดียว

"คำถามก็คือ การเจริญเติบโตในอัตราสูงของจีนนั้นเป็นต้นแบบของความยั่งยืนจริงหรือ"


ข้อมูลจาก ข่าวสดรายวัน
08 มิถุนายน พ.ศ. 2554 ปีที่ 21 ฉบับที่ 7496

[url=http://www.arunsawat.com/board/index.php?topic=9869.0] __________________