วันพฤหัสบดีที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

วิเคราะห์วิจารณ์...ความเคลื่อนไหวกองทัพพม่า

วิเคราะห์วิจารณ์...ความเคลื่อนไหวกองทัพพม่า

ตอน การจัดซื้อ SAM รถถัง MIG ฯลฯ


ก่อนที่จะอ่านบทความนี้ ขอเชิญทุกท่านอ่านข่าวที่ท่านสมาชิก Wing21 นำมาโพสกันที่นี่และที่นี่ก่อนครับ เราจะมาว่ากันตามเนื้อข่าวนั้น

ดังที่ได้เคยเขียนข้อมูลของกองทัพอากาศและกองทัพเรือพม่าไปแล้ว (ส่วนกองทัพบกจะนำมาเสนอต่อไป) ประกอบกับข่าวที่ปรากฏออกมาก็จะเห็นได้ชัดถึงการกำหนดยุทธศาสตร์และภัยคุกคามที่รัฐบาลทหารพม่ามองเห็นชัดเจนที่สุดคือ ภัยคุกคามจากชนกลุ่มน้อยและภัยคุกคามจากมหาอำนาจหรือก็คือสหรัฐนั่นเอง



การอุดช่องว่างด้วยอาวุธเชิงรับ

การจัดซื้อจรวดต่อสู้อากาศยานทั้ง 5 แบบคือ HN2 HN5 Tor-M1 Buk-M1 Igla-1E ล้วนตอบโจทย์ของรัฐบาลทหารพม่าที่ต้องการสร้างโครงข่ายป้องกันภัยทางอากาศในประเทศเพื่อหยุดหยั้งและป้องปรามการบุกรุกจากภายนอก ที่ยุทธวิธีสมัยใหม่นั้นจะใช้กำลังทางอากาศเข้าครองอากาศก่อน อาวุธเหล่านี้ล้วนเป็นอาวุธประสิทธิภาพสูงทั้งสิ้น และถ้าใช้มันอย่างถูกวิธีแล้วล่ะก็ ฝ่ายรุกก็ต้องคิดให้หนักมากขึ้นอีกเป็น 2 -3 เท่า ทั้งยังเพิ่มอำนาจการยิ่งของฝ่ายพม่าเองให้สูงขึ้นมาก ด้วยแต่ลำระบบนั้นเป็นระบบที่ติดตั้งบนยานยนต์ และบางระบบเป็น MANPAD ซึ่งใช้คนเพียงคนเดียวในการยิง ทำให้ความอ่อนตัวมีสูงมาก



ภัยคุกคามใหม่กับอาวุธเชิงรุก

ในเว็บไซต์ต่างประเทศนั้นได้มีการเขียนเกี่ยวกับเหตุการณ์การปะทะกันระหว่างกองทัพไทยกับกองทัพพม่าเมื่อปี 43 - 44 (ซึ่งจะนำมาลงในโอกาสหน้า) ไว้ว่ากองทัพไทยครองความเหนือกว่าอย่างเห็นได้ชัดในการสู้รบ และยุทธโปกรณ์ของพม่าก็ไม่อยู่ในสภาพที่พร้อมสมบูรณ์ที่จะทำการสู้รบ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนตามที่เว็บไซต์นั้นบอกมาก็คือกองทัพอากาศพม่าไม่มีปฏิบัติการตามแนวชายแดนเลยตลอดช่วงเวลาที่ปะทะกัน (ข้อมูลไม่ยืนยัน ฝรั่งก็อาจจะมั่วได้ครับ)

ซึ่งเค้าก็ให้ทรรศนะว่าเป็นเพราะเครื่องบินขาดการบำรุงรักษาและส่วนใหญ่ต้องกราวน์ ซึ่งหลังจากเหตุการนี้ทำให้พม่าเริ่มขยับตัวในการจัดหาเครื่องบินที่มีประสิทธิภาพสูงกว่าที่ประจำการอยู่นั่นก็คือ MiG-29 B ซึ่งเป็นเครื่องบินเหลือเก็บของรัสเซียจำนวน 10 เครื่อง เป็นจำนวน 130 ล้านดอลล่าห์ พร้อมกันนั้นตามข่าวก็บอกว่าพม่านั้นจะจัดซื้อเพิ่มเติมอีกภายในเวลาอันใกล้นี้ พร้อมกันนั้นพม่ายังได้เสริมประสิทธิภาพปืนใหญ่ในประจำการเพิ่มขึ้น รถถัง T-72 อีก 50 คัน พร้อม APC อีกกว่า 1000 คัน



ใครบ้างที่ช่วยเหลือพม่า

จีน อินเดีย อิสราเอล สิงคโปร์ ฯลฯ เหล่านั้นคือผู้ที่ให้ความช่วยเหลือพม่า แต่ที่เด่นชัดที่สุดคงหนีไม่พ้นจีน ที่ให้ความช่วยเหลือพม่าอย่างมหาศาล (มหาศาลจริง ๆ) อาวุธในกองทัพพม่าส่วนใหญ่ก็มาจากจีนทั้งสิ้น ซึ่งจีนก็สามารถใช้พม่าเป็น "สนามทดสอบในสภาพการรบจริง" ของอาวุธใหม่ ๆ ของจีน ในสงครามกับชนกลุ่มน้อยของพม่า ซึ่งไม่น่าแปลกใจ ถ้าในอนาคต เราจะเห็นเรือรบรุ่นใหม่ของพม่าต่อจากจีน หรือพม่าซื้อเครื่อง FC-1 (JF-17) เข้าประจำการ

สิ่งที่จีนได้จากพม่าอีกอย่างหนึ่งก็คือ จีนนั้นได้เข้ามาตั้งฐานทัพเรือในพม่าเพื่อที่จีนจะได้มีทางออกทางมหาสมุทรอินเดียโดยตรง อินเดียเองก็มีความสัมพันธ์อันดีต่อพม่าเช่นกันตามนโยบายมองตะวันออกจากอินเดีย โดยกองทัพเรือของอินเดียได้เข้ามาช่วยเหลือกองทัพเรือพม่า ทั้งยังเคยเสนอขายเรือรบมือสองให้พม่าด้วย (รายละเอียดทั้งหมดของประเทศที่ช่วยเหลือพม่าขอยกยอดไปบทความหน้า)

แล้วใครล่ะคือภัยคุกคามพม่าตัวจริง

พม่าต้องเห็นและวิเคราะห์สถาณการณ์เอาไว้แล้วว่าในอนาคตมีความเป็นไปได้สูงที่จะถูกสหรัฐโจมตีโดยใช้ไทยเป็นฐานสำคัญ เมื่อพม่าอ่านเกมส์ออกได้ดังนี้ ก็ไม่น่าแปลกใจที่กองทัพพม่าจะให้ความสำคัญกับชายแดนที่ติดกับไทยและทะเลอันดามันตอนล่าง

แล้วผู้รุกรานอย่างอเมริกาล่ะ??? ในปัจจุบันอเมริกาก็ยุ่งพอแล้วกับการรุกรานอัฟกานิสถาน อิรัก และในอนาคตก็ไม่แน่ว่าอาจจะเป็นอิหร่านกับเกาหลีเหนือ ซึ่งเชื่อว่าในช่วงนี้อเมริกาจะยังไม่ใช้นโยบายทางการกับพม่าแน่นอน

แต่ถ้าใช้จริง ๆ ล่ะ???? เมื่อนั้นแหละครับไทยก็จะถูกถามว่า "ยูจะช่วยไอเหมือนที่ยูช่วยในเวียดนามไหม" ไทยจะตอบว่าอย่างไร ก็จนปัญญาที่ผมจะคาดเดา

มองดู...ประสิทธิภาพของอาวุธใหม่ ๆ ของพม่า

HN-5 (SA-7) MANPAD SAM

MANPAD ย่อมาจาก MAN-Portable Air Defence Missile ครับ เป็นจรวด SAM ประทับบ่า รุ่นพี่ของมันคือ SA-7 เจ้านี่เคยสอยเครื่องบินไทยมาแล้วครับ ยิงได้ที่ระยะสูง 500 เมตรถึง 2.3 กม. ระยะยิงไกล 500 เมตรถึง 4.5 กม.




HN-5

Tor-M1 (SA-15) SAM

Tor-M1 ถือเป็น SAM ประสิธิภาพสูง ติดตั้งบนรถครับ เคลื่อที่สะดวก รถวิ่งได้เร็ว 65 กม./ชม. บนถนน จรวดมีระยะยิง 100 เมตรถึง 12 กม. ที่ความสูง 100 เมตร - 6 กม.




Tor-M1

Buk-M1 (SA-17) SAM

เป็น SAM ชั้นดีอีกชนิดนึ่งครับ สามารถต่อตีเป้าหมายได้ 6 เป้าติด ๆ กันที่ความสูงและระยะทางต่างกัน




Buk-M1 (SA-17)

Igla-1E (SA-16) SAM

ถือเป็น SAM ระยะใกล้ที่ประสิทธิภาพดีครับ แม้แต่สิงคโปร์ซึ่งใช้อาวุธนาโต้ก็ยังจัดหาไปใช้ ตัวจรวดวิ่งที่ 2 มัค โจมตีเป้าหมายในระยะ 500 เมตรถึง 5 กม.ที่ความสูง 3,500 เมตร




Igla (SA-16)

BTR-3U Armoured Personnel Carrier

คุณ AAG_Th แห่ง Wing21 วิเคราะห์ว่าเป็นรุ่นนี้ครับ โดยอ้างอิงจากข่าวปีที่แล้ว รถรุ่นนี้ขนคนไปได้ 9 คน สามารถติดป้อมปืนขนาด 30 mm ได้พร้อมปืนกล 7.62 mm และ ระบบ SAM




BTR-3U

T-72 Medium Tank

เป็นรถถังขนาดกลางหนัก 41 ตัน ติดปืน 125 mm วิ่งได้เร็ว 75 กม./ชม. บนถนน วิ่งได้ไกล 450 กม.




T-72




ที่มา http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=skyman&month=16-05-2006&group=3&blog=1
ตัวกระทำมีจริง ตัวกระทำไม่ตาย ตัวกระทำมีผลตอบแทน
ประเทศไทย ขาดสัจจะตัวกระทำ