วันเสาร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2555

The Role of Supernovas in The Shiftบทบาทของซูเปอร์โนวาต่อการเปลี่ยนระดับ

The Role of Supernovas in The Shiftบทบาทของซูเปอร์โนวาต่อการเปลี่ยนระดับ


ต่อไปก็ไปดูข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ ที่เกี่ยวข้องกับซูเปอร์โนวา ซึ่งเป็นปรากฏการณ์บนท้องฟ้าลำดับที่ 4
ที่มีบทบาทหน้าที่ในการเปลี่ยนระดับครั้งนี้ว่าเป็นอย่างไรบ้าง

ซูเปอร์โนวา คือดวงดาวที่ระเบิดและแผ่กระจายออกซิเจน, คาร์บอน, ไนโตรเจน, แคลเซี่ยม,
และเหล็กออกมาสู่อวกาศ แล้วทำให้กลุ่มเมฆหมอกของไฮโดรเจน และฮีเลี่ยม มีอนุภาคเหล่านี้มากขึ้น
และช่วยทำให้เกิดดวงดาวใหม่ๆขึ้น ภาพตัวอย่างนี้ คือเนบิวล่าปู (crab nebula)

นอกจากนี้ ซูเปอร์โนวาทั้งหลาย ยังช่วยทำให้เกิดธาตุทองคำ, เงิน, ตะกั่ว, ยูเรเนี่ยม
และโลหะหนักอื่นๆ พร้อมทั้งช่วยกระจายธาตุเหล่านี้ เข้าไปสู่จักรวาลอีกด้วย

เศษฝุ่นธุลีของมันที่เดินทางเข้าไปสู่ระบบสุริยจักรวาลใด ก็จะไปทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรม
และการวิวัฒนาการของเซลของสิ่งมีชีวิต ในระบบสุริยจักรวาลนั้นๆ


ในปี 1987 นักวิทยาศาสตร์หลายคน สังเกตเห็นการระเบิดของซูเปอร์โนวาใน Ophiucus
ซึ่งอยู่ใกล้ๆกับศูนย์กลางของกาแล็กซี่


ภาพนี้เป็น 1 ในภาพช่วงแรกๆที่ถ่ายไว้เมื่อปี 1990 โดยกล้องของ European Space Agency

ซูเปอร์โนวานี้ ได้เกิดระเบิดขึ้น เมื่อมีเศษซากจากการระเบิดของดวงดาวขนาดใหญ่
พุ่งมากระแทกกับวงแหวนแกสที่ล้อมรอบมันอยู่อย่างรวดเร็ว นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า
วงแหวนนี้ ประกอบไปด้วยแกสเก่า ที่ถูกปลดปล่อยออกมาจากดวงดาวนั้น เมื่อประมาณ 20,000 ปีก่อน
ก่อนที่มันจะเกิดการระเบิดขึ้น

แสงสว่างเข้มข้นจากการระเบิดเมื่อปี 1987 ทำให้วงแหวนแกสร้อนขึ้น ทำให้รู้ว่ามันมีอยู่

การระเบิดของซูเปอร์โนวานี้ ได้เกิดขึ้นพร้อมกับเหตุการณ์ “การมาบรรจบกันอย่างสอดคล้อง”
(Harmonic Convergence) ของดวงดาวทั้ง 8 ในระบบสุริยจักรวาลของเราเมื่อปี 1987 นี้
และยังได้เกิดขึ้นพร้อมกับการเพิ่มขึ้นของ the Schumann resonance หรือ ค่าชีพจรของโลกอีกด้วย
(เดี๋ยวค่อยพูดถึงเรื่องนี้ กันทีหลังนะครับ - chayutt)


จากนั้น วงแหวนนั้นก็ค่อยๆสลัวลง จนถึงปี 1997 เมื่อมีกระจุกๆหนึ่งภายในวงแหวนนี้
ได้ถูกจุดประกายขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง จากการปะทะของคลื่นกระแทก (shockwave) ขนาดมหึมา
และตั้งแต่ปี 1996 องค์การนาซ่าได้เฝ้าติดตามดูการเปลี่ยนแปลงของ Supernova 1987a นี้
ด้วยกล้องโทรทัศน์ฮับเบิ้ล

การระเบิดของซูเปอร์โนว่านี้ ในครั้งนี้ ตอนนี้ได้ทำให้กลุ่มแก็สที่อยู่ในวงแหวนของมันสว่างไสวขึ้น
เพราะว่าพวกมันถูกทำให้ร้อน จนอุณหภูมิสูงขึ้นเป็นหลายล้านองศา และยังถูกบิบอัดด้วยคลื่น
ที่เกิดจากการระเบิดที่มีความเร็วถึง 40 ล้านไมล์ต่อชั่วโมง

มีข่าวๆหนึ่งในรายงานข่าวจากกล้องโทรทัศน์ฮับเบิ้ล ในปีช่วงปลายๆปี 1980 กว่าๆ
ได้กล่าวถึงซูเปอร์โนวา 1987a ว่า จากการคาดการณ์ วงแหวนด้านในของมัน
จะกระแทกกับเศษจากการระเบิดของกลุ่มกาแล็กซี่ ในปี 1987 ซึ่งอาจจะทำให้วงแหวนรอบนอกของมัน
ถูกจุดขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง ในช่วงประมาณต้นปี 2000

ในรายงานข่าวนั้น ยังได้พยากรณ์ไว้อีกว่า กลุ่มแก็สทั้งหลายที่อยู่ในวงแหวนนี้
อาจจะทำให้วงแหวนนี้ทั้งหมดถูกจุดขึ้น เหมือนกับหัวแก็สในเตาแก็ส

ภาพจากปี 2004 แสดงให้เห็นว่าวงแหวนนี้ เป็นไปตามคำพยากรณ์ของ NASA จริงๆ
และการระเบิดนี้ ก็เป็นไปอย่างสมบูรณ์จริงๆ


การระเบิดครั้งสุดท้ายของแสงสว่าง ซึ่งคาดว่าจะสว่างไสวไปอีกนานนับพันๆปี
และคาดว่า จะก่อให้เกิดการระเบิดของแสงสว่างอย่างไม่น่าเชื่อขึ้น ที่นักวิทยาศาสตร์ทั้งหลาย
ตั้งตารอคอยอย่างมีความหวังกันอยู่ว่า จะสามารถมองเห็นได้จากโลกในปี 2005

จากโคลงของนอสตาดามุสบทหนึ่ง ทำให้อดคิดไม่ได้ว่า มันอาจจะมีความเกี่ยวข้องกัน
ระหว่างการระเบิดของแสงสว่างครั้งสุดท้ายของซูเปอร์โนว่านี้ กับการเปลี่ยนองค์สันตะปาปาก็เป็นได้