วันเสาร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

พญานาคกับการผ่านพ้นอันตรายจากภัยพิบัติ


'พญานาคจะช่วยผู้ที่บูชาศรัทธาในพญานาคให้ผ่านพ้นอันตราย จากภัยพิบัติที่จะเกิดขึ้น  หลังจากท่านมรณภาพไปแล้ว 3 ปี ... หลังหลวงปู่ตาย 3 ปี บ้านเมืองจะเริ่มวุ่นวายเดือดร้อนให้พวกเจ้าศรัทธา และบูชาพญานาค ก็จะพ้นวิกฤตินั้นได้ หลวงปู่คำพันธ์ โฆสปัญโญ วัดธาตุมหาชัย จังหวัดนครพนม ได้บอกลูกศิษย์ .... หลวงปู่คำพันธ์มรณภาพ เมื่อ 24  พฤศจิกายน 2546  หมายถึงบ้านเมืองจะเริ่มวุ่นวายตั้งแต่ปลายปี 2549 และจะหนักขึ้นเรื่อยๆ....แสดงว่าหลวงปู่คำพันธ์ ทราบถึงศักยภาพของพญานาคเป็นอย่างดี จึงให้คำแนะนำเอาไว้ข้างต้นนั้น
พยากรณ์นี้สอดคล้องกับพยากรณ์โบราณของเจ้าราชครูหลวงโพนสะเม็ก (พระครูขี้หอม) ผู้บูรณะพระธาตุพนม ระหว่างปี พ.ศ. 2233 – 2235   'ปี 2555 เมืองไทยจะเกิดวิกฤต จนถึงขั้นอาจตกต่ำลงไป'
และยายชีนวล วัดภูฆ้องคำ อายุ 100 ปี  อดีตเพื่อนสำเร็จตัน (ศิษย์สำเร็จลุน) ได้ย้ำพยากรณ์นี้ว่า        'เริ่มแล้วนะ (2549) เค้าของความวุ่นวายเดือดร้อนจะปรากฏชัดเจนขึ้น เรื่อย จนอีก  5 ปีข้างหน้า, ถ้าเป็นผู้อยู่ในศีลธรรมจะปลอดภัย' 
คณะของพญานาคทำงานประสานกันกับทีมงานของหลวงปู่เทพโลกอุดร เช่น ตัวอย่างการประสานงาน : ก่อนเกิดสึนามิในไทย คณะหลวงปู่ใหญ่เทพโลกอุดรกำหนดจุดตรึงแผ่นดินในบางส่วนของประเทศไทย ไม่ให้เคลื่อนตัวรุนแรงตามแผ่นดินไหว โดยแต่ละจุดที่ถูกกำหนด ทางนาคาธิบดีแห่งไตรยุคได้ส่งบริวารนาคไปทำการอารักขาและตรึงแผ่นดินไม่ให้ เคลื่อนจนกว่าจะถึงวาระ เช่น บริเวณเขื่อน จ.กาญจนบุรี
การแสดงความห่วงใย  ของครูอาจารย์ ที่หมดกิเลสแล้ว หรือละจากความโลภแล้ว ได้กล่าวเอาไว้สั้นๆต่างกรรมต่างวาระกัน และห่างกันหลายร้อยปี ช่างมาตรงกับเหตุการณ์ของธรรมชาติ ที่กำลังจะครบรอบ 13000 ปี ที่ดาว นิบิรุ ดาวฤกษ์ขนาดใหญ่พอๆกับดาวพฤหัสบดีพร้อมดาวบริวารอีก 5 ดวง ครบกำหนดมาโคจรรอบดวงอาทิตย์ในปลายปี 2555 พอดี
ปลายปี 2555 เป็นต้นไปโลกจึงต้องมีการปรับสมดุลของเปลือกโลกขนานใหญ่ ที่นักวิทยาศาสตร์พากันคาดการณ์ผลกระทบต่อพลโลกและสรรพสัตว์อย่างรุนแรง 
ลองมารู้จักหลวงปู่คำพันธ์ กันให้มากขึ้น และอีก 2 ท่านที่ได้กล่าวถึง
นามฉายาว่า 'โฆสปัญโญ' ซึ่งแปลว่า 'ผู้มีปัญญาระบือไกล'
ก่อนหน้าที่จะได้ฝึกปฏิบัติกัมมัฏฐานนั้น เคยได้รับความรู้เรื่องกัมมัฏฐานมาจาก ท่านพระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล ซึ่งท่านไปอบรมสั่งสอนประชาชนที่วัดโพนเมือง จ.อุบลราชธานี
พระอาจารย์เสาร์ ให้แนวทางในการปฏิบัติกรรมฐานไว้ว่า 'ให้กำหนดลมหายใจเข้า-ออก' และได้ให้ข้อคิดต่อไปอีกว่า 'ร่างกายของคนเรานั้นเป็นธรรมชาติอย่างหนึ่ง มันทำงานอยู่ตลอดเวลา ลมหายใจเข้า-ออกนั้น มีความสำคัญมาก ถ้าลมไม่ทำงานคนเราจะตายทันที ดังนั้นจึงจำเป็นต้องกำหนดลมหายใจ'
หลวงปู่ได้ศึกษาภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติกับท่านพระอาจารย์เสาร์ประมาณ ๑ ปี และได้ยึดแนวทางของท่านเป็นแนวทางในการปฏิบัติเรื่อยมา นับแต่นั้นต่อมาก็ได้ไปศึกษาและปฏิบัติธรรมร่วมกับ อาจารย์ครุฑ ซึ่งเป็นพระขาว (ปะขาว) และได้รับความรู้ในเรื่องการปฏิบัติธรรมจากท่านอาจารย์ครุฑนี้เพิ่มเติมเป็น จำนวนมาก หลังจากนั้นหลวงปู่คำพันธ์ก็ได้นำเอาแนวทางการปฏิบัติของอาจารย์ทั้ง ๒ มาเป็นแนวทางปฏิบัติกัมมัฎฐาน
ต่อมาก็ได้ปฏิบัติกัมมัฏฐานพร้อมเป็นครูสอนพระปริยัติธรรมด้วย ที่วัดพระพุทธบาทจอมทอง บ้านหนองหอยใหญ่ ต.นาแก อ.นาแก จ.นครพนม

หลังจากนั้นได้เดินธุดงค์ไปยังสถานที่ต่างๆ ในเขตจังหวัดนครพนม จังหวัดสกลนคร จังหวัดอุดรธานี จังหวัดหนองคาย และข้ามไปฝั่งลาวประมาณ ๓-๔ เดือน แต่ไม่ได้จำพรรษา แต่กลับมาจำพรรษาอยู่ที่วัดป่าบ้านเดิม อยู่ประมาณ ๓ ปี และญาติโยมชาวบ้านก็นิมนต์ท่านให้เข้ามาอยู่จำพรรษาที่วัดบ้าน เพื่อโปรดญาติโยมชาวบ้านบ้าง หลังจากออกพรรษาแล้ว หลวงปู่ก็ออกเดินธุดงค์ต่อ จนอายุถึง ๔๐ ปี จึงหยุดเดินธุดงค์ แต่ก็พยายามศึกษาปฏิบัติธรรมกัมมัฎฐานมาโดยตลอดจนถึงปัจจุบัน

พ.ศ. ๒๔๙๕ ได้นำญาติโยมประมาณ ๕ ครอบครัว จากบ้านหนองหอยใหญ่ ต.นาแก อ.นาแก มาสร้างบ้านและวัดใหม่ที่โนนมหาชัย ให้ชื่อบ้านว่า 'บ้านมหาชัย' ในปัจจุบันนี้ และได้สร้างวัดใหม่ คือ 'วัดธาตุมหาชัย' (เดิมชื่อ วัดโฆษการาม) จนเจริญรุ่งเรืองตราบถึงปัจจุบัน
พระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล
นอกจากนั้นท่านพระอาจารย์เสาร์ยังได้ย้ำอีกว่า 'ให้คนเราตีกลองคือขันธ์ ๕ ให้แตก' ซึ่งก็หมายความว่า ท่านให้ทำความเข้าใจขันธ์ ๕ ให้จงดี ให้เข้าใจตามสภาพที่เป็นจริง
  • การศึกษาพิเศษของหลวงปู่คำพันธ์
  • ได้ศึกษาอักษรธรรม อักษรขอม อักษรไทยน้อย อ่านเขียนได้คล่องแคล่ว และมีความชำนาญมาก
  • ทรงจำพระปาฏิโมกข์ได้แม่นยำ เป็นพระผู้สวดพระปาฏิโมกข์ในวันทำสังฆกรรมอุโบสถ ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๙๐ เรื่อยมา
  • ความชำนาญการ
  • มีความชำนาญการแสดงพระธรรมเทศนาโวหาร บรรยายธรรม เทศนาธรรม และเทศนาธรรมแบบปุจฉาวัสัชนา ๒ ธรรมาสน์ จนมีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วเขตอีสานเหนือ ยากที่จะหาพระธรรมกถึกรูปอื่นเสมอเหมือนในสมัยนั้น
  • มีความชำนาญการเทศนาธรรม ทำนองแหล่ภาษาอีสาน มีความสามารถในการประพันธ์กลอนแหล่ทำนองอีสานได้ เช่น กลอนอัญเชิญพระเวสสันดรเข้าเมือง, พระเวสสันดรทรงพบพระประยูรญาติ, พระเวสสันดรลาป่า, นางมัทรีเดินป่า เป็นต้น
  • เป็นพระวิปัสสนาจารย์ใหญ่สาย พระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล, พระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต และพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร ให้การอบรมวิปัสสนากรรมฐานประจำที่วัดป่ามหาชัย วัดส้างพระอินทร์ และวัดภูพานด่านสาวคอย
  • มีความชำนาญการด้านนวัตกรรม การออกแบบก่อสร้างเสนาสนะ ทั้งงานไม้ งานปูน โดยเป็นผู้นำในการก่อสร้างกุฏิสงฆ์ ศาลาการเปรียญ และพระธาตุมหาชัย (การก่อสร้างครั้งแรกๆ ท่านทำเองทั้งหมด เพราะสมัยนั้นไม่มีช่างผู้ชำนาญการ และเงินงบประมาณก็มีไม่เพียงพอ)

  • การสร้างวัตถุมงคล
    นอกจากการเผยแผ่พระพุทธศาสนาแล้ว ด้านวัตถุมงคลก็โด่งดังยิ่งนัก แต่เริ่มเดิมทีหลวงปู่คำพันธ์ หาได้สนใจจัดสร้างไม่ ท่านนั่งปลุกเสกสร้างวัตถุมงคลไปแล้วไม่ต่ำกว่า ๑๐๐ รุ่น เพื่อนำปัจจัยไปพัฒนากิจการด้านการศึกษา การศาสนา การสังคม และวัฒนธรรมพื้นถิ่น

    วัตถุมงคลรุ่นแรกเป็นเหรียญรุ่นหยดน้ำ สร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๖ ต่อมาในช่วงกลางเดือนกันยายน พ.ศ. ๒๕๓๕ ทางวัดธาตุมหาชัยกำลังพัฒนา หลวงปู่คำพันธ์จึงได้สร้างอิทธิมงคลขึ้น ชื่อชุด 'มหาชัยมงคล' เป็นพระสมเด็จปรกโพธิ์หล่อ และล็อกเกตอุดผงตะกรุดทองคำ ซึ่งท่านได้ทำพิธีอธิษฐานจิตปลุกเสกมหามนตราศักดิ์สิทธิ์วัตถุมงคลนี้เป็น กรณีพิเศษ เพื่อนำปัจจัยมาสมทบทุนมูลนิธิสังฆศาสน์ และเป็นทุนพัฒนาวัดธาตุมหาชัย

    รวมทั้ง เหรียญรุ่นมหาปรารถนา สร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๕ ที่ได้รับความนิยมสูงสุด และเป็นเหรียญรุ่นสุดท้าย ซึ่งกองทัพบกสร้างขึ้น และได้ขอบารมีให้ท่านปลุกเสก

    ในจำนวนวัตถุมงคลที่สร้างและออกในนามหลวงปู่คำพันธ์ โฆสปัญโญ วัดธาตุมหาชัย ทุกรุ่น จะพบว่า ยันต์ด้านหลังเหรียญที่พบมากที่สุด คือ 'ยันต์สมปรารถนา' ซึ่งอาจจะเรียกว่าเป็นยันต์เฉพาะตัวของหลวงปู่คำพันธ์ก็ว่าได้

    ส่วนที่มาของยันต์นั้น หลวงปู่คำพันธ์ได้มาจากจารึกบนแผ่นศิลา ใต้ฐานองค์พระธาตุพนม ซึ่งค้นพบหลังจากพระธาตุพนมล้มลง เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๘ โดยหลวงปู่คำพันธ์กล่าวไว้ว่า 'ภาษาจารึกเป็นภาษาสวรรค์' ทั้งนี้ หลวงปู่ได้นำมาปรับแต่ง และเขียนยันต์ขึ้นใหม่ เพราะท่านศึกษาอักษรธรรมอีสาน อักษรขอม อักษรไทยน้อย อ่านเขียนได้คล่องแคล่ว และมีความชำนาญมาก โดยใช้ชื่อว่า 'ยันต์สมปรารถนา'

    ส่วนพระคาถาที่หลวงปู่คำพันธ์ใช้ในพิธีอธิษฐานจิต ปลุกเสกมหามนตราศักดิ์สิทธิ์วัตถุมงคล คือ “คาถาพระพุทธเจ้า” โดยบริกรรมว่า 'ทิตะ ศิรา ทันนันฑะ โลกะ ลิลากะ ละลาสติโป จะติโห คะหะตะเน'

    'ยันต์สมปรารถนา' ของหลวงปู่คำพันธ์ มีความพิเศษกว่ายันต์ของพระเกจิอาจารย์รูปอื่นๆ คือ เขียนด้วยอักขระขอม และอักขระธรรมอีสาน ซึ่งปกติแล้วการเขียนยันต์ทั่วๆ ไปจะใช้อักขระเดียวเท่านั้น อักขระที่ใช้เขียนยันต์มี ๖ ภาษา ได้แก่ อักขระขอม อักระธรรมล้านนา อักขระธรรมอีสาน อักขระมอญ อักขระพม่า และอักขระสิงหล ซึ่งเมื่อเทียบเคียงแล้ว จะพบว่าอักขระทั้ง ๖ ภาษา (ถ้ารวมไทยด้วย ๗ ภาษา) บางตัวเขียนคล้ายกันมาก เช่น ก.ไก่ ย.ยักษ์ และ ว.แหวน เป็นต้น ที่เป็นเช่นนี้ เพราะการประดิษฐ์อักษรไทยของพ่อขุนรามคำแหงมหาราชในสมัยสุโขทัยนั้น ประยุกต์หรือปรับปรุงมาจากอักษรมอญ และขอม ซึ่งมีการใช้อักษรมาก่อน
    การมรณภาพ

    พระเดชพระคุณพระสุนทรธรรมากร (หลวงปู่คำพันธ์ โฆสปัญโญ) ได้ละสังขารอย่างสงบในกุฏิจำพรรษา ด้วยโรคชราภาพ ประกอบกับมีโรคประจำตัวหลายอย่างแทรกซ้อน หลังจากอาพาธมานานหลายปี เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๖ เวลาประมาณ ๐๑.๕๙ น. ณ วัดธาตุมหาชัย สิริรวมอายุได้ ๘๙ พรรษา ๕๙ สร้างความสลดโศกเศร้าให้แก่บรรดาลูกศิษย์ลูกหาที่ใกล้ชิด ตลอดจนพุทธศาสนิกชนทั่วไปที่เลื่อมใสศรัทธาหลวงปู่เป็นอย่างยิ่ง วันนี้...หลวงปู่คำพันธ์ พันธุ์ไม้มีแก่นในตัว ไม่โอ้อวด ไม่ยึดติด ท่านสิ้นใจแต่ไม่สิ้นธรรม
ความเห็นของผู้ปฏิบัติธรรมกัมมัฏฐานส่วนหนึ่งต่อเรื่องภัยพิบัติ
พยากรณ์โบราณของเจ้าราชครูหลวงโพนสะเม็ก (พระครูขี้หอม) ผู้บูรณะพระธาตุพนม ระหว่างปี พ.ศ. 2233 - 2235 กล่าวว่า 'ปี 2555 เมืองไทยจะเกิดวิกฤติจนถึงขั้นอาจตกต่ำลงไป' 
  • 'เจ้าพ่อราชครูหลวงโพนสะเม็ก' (ท่านราชครูขี้หอม) เป็นชื่อที่ปรากฏบนเหรียญที่ระลึกในงานพระราชพิธีบรรจุพระอุรังคธาตุที่   วัดพระธาตุพนมวรมหา วิหาร อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม เมื่อวันที่ ๒๑-๒๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๒๒ (จะได้กล่าวถึงรายละเอียดทีหลัง) ส่วนชื่อที่เรียกทั่วไปและเป็นที่คุ้นเคยดี ซึ่งจะใช้ไปตลอดในเรื่องนี้ คือ พระครูโพนสะเม็ก พระครูขี้หอม หรือญาครูขี้หอม
              ท่านพระครูโพนสะเม็ก เป็นพระมหาเถระที่มีชื่อเสียงโด่งดังมาก ในสมัยกรุงล้านช้าง (ราชอาณาจักรล้านช้าง) หรือกรุงศรีสัตนาคนหุต เมื่อ ๓๖๙ ปีเศษมาแล้ว แม้ทุกวันนี้ชื่อของท่านก็ยังฝังใจพุทธศาสนิก ชนชาวลาวอยู่ ท่านมีชีวิตพิสดารเป็นที่น่าสนใจอย่างยิ่ง ซึ่งจะปรากฏให้เห็นในชีวประวัติของท่านเป็นตอนๆ ดังต่อไปนี้ ได้นิมิตฝันอันมหัศจรรย์
  • เมื่อปี พ.ศ. ๒๑๘๖  ในตอนกลางคืนวันหนึ่งขณะที่  พระครูยอดแก้ว แห่งกรุงเวียงจันทน์ ราชอาณาจักรล้านช้าง จำวัดหลับสนิทอยู่ ท่านได้นิมิตฝันว่า 'มีพระยาคชสารตัวใหญ่ เดินเข้ามาในพระอาราม ได้ทำลายวิหาร ขึ้นไปบนกุฏิ แล้วใช้งาแทงหอไตรจนพังทลายลง แล้วเอางวงหยิบเอาหนังสือผูก (คัมภีร์ใบลาน) กินเป็นอาหารจนหมดหีบ'
             
พ่อเจ้าราชครูหลวงโพนสะเม็ก
หลวงพ่อขี้หอม  

  • คำว่า 'พระครูยอดแก้ว' เป็นทำเนียบสมณศักดิ์ชั้นสูงสุดของราชอาณาจักรล้านช้างในสมัยโน้น พอจะเทียบได้กับสมเด็จพระสังฆราชในสมัยนี้ ส่วนวัดของท่านในตอนนั้นกล่าวกันว่าคือ วัดยอดแก้ว ตั้งอยู่ในเขตตำบลเวียงคุก อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคายในปัจจุบัน
  • สมัยนั้นเวียงคุกอยู่ภายในเขตนครเวียงจันทน์ ในราชอาณาจักรล้านช้าง เพราะสมัยนั้นดินแดนริมฝั่งขวาแม่น้ำโขงที่เป็นพื้นที่ภาคอีสานทั้งหมด ซึ่งมีเทือกเขาพระยาไฟ (ดงพระยาเย็น) เป็นพรมแดนธรรมชาตินั้น ขึ้นกับราชอาณาจักรล้านช้าง ลองแวะดูพื้นที่ภาคอิสานที่กล่าวถึง  http://maps.google.co.th/mapsf=q&source=s_q&hl=th&geocode=&q=  orientis+tabula&sll=
  • 1.757537,144.140625&ie=UTF8&hq=orientis+tabula&hnear=&t=p&ecpose=  22.7462632,96.79058602,280998.32,0.188,0,0&ll=16.467695,102.348633&spn=
  • 8.946522,14.128418&z=6
  • ส่วนสาระสำคัญในความฝันนั้น อาจแปลความหมายได้ว่า ต่อไปจะมีผู้ยิ่งใหญ่เข้ามาในวัด มาทำการศึกษาค้นคว้าหาความรู้ในหอไตร (หอพระไตรปิฎก) แล้วได้ศึกษาเล่าเรียนจนมีความรู้เจนจบในคัมภีร์พระไตรปิฎกทั้งหมด นิมิตฝันในลักษณะเช่นนี้ จะพบอยู่ในประวัติพระสงฆ์ที่มีชื่อเสียงในอดีต ในสมัยอาณาจักรล้านนาก็มีคล้ายๆ กัน จะเป็นความบังเอิญทางจิต หรือ

  • จะเป็นนิมิตที่เทวดาสังหรณ์อะไรก็สุดแต่จะตีความ หรือจะเป็นเพียงผู้เรียบเรียงประวัติของท่านในสมัยนั้น เพิ่มเติมให้เรื่องราวเป็นที่นิยมของชาวพุทธ ก็สุดที่จะยืนยันในความเป็นจริงได้ แต่ก็พอจะตีความหมายไปในทางดีได้ ซึ่งในชีวิตของมนุษย์เกือบจะทุกคน ย่อมจะมีประสบการณ์เกี่ยวกับความฝันมาด้วยกันไม่มากก็น้อย
  • ฉะนั้น หากเจ้าอาวาสท่านฝันจริง ก็ชอบที่ท่านจะนำไปเชื่อมโยงกับเหตุการณ์ ที่มีความหมายใกล้เคียงกัน เพราะมีลัทธิความเชื่อเช่นนี้มาก่อน โดยเฉพาะเวลาผู้หญิงจะตั้งครรภ์หรือเวลาจะคลอดบุตร ผู้เป็นมารดามักจะฝันแปลกๆ และจะจดจำเรื่องที่พอจะเป็นนิมิตเกี่ยวกับการตั้งครรภ์หรือการเกิดไว้ พอเด็กโตขึ้นมาและเจริญก้าวหน้าเป็นใหญ่เป็นโตเหมือนคำทำนาย ก็เท่ากับว่ามีหลักฐานมายืนยันให้ความฝันนั้น กลายเป็นต้นฉบับแห่งความฝันและคำทำนายฝันได้ และค่อนข้างจะมีผู้คนเชื่อกันมาเป็นเวลานานในสังคมไทย แม้สมัยปัจจุบันก็ยังเป็นเช่นนี้อยู่ โดยเฉพาะผู้ที่มีประสบการณ์ด้านนี้ด้วยตัวเอง จะเชื่ออย่างสนิทใจ และมักจะโน้มน้าวให้คนอื่นเชื่อ หรือมีอิทธิพลต่อคนอื่นด้วย
สามเณรอัจฉริยะ
พอรุ่งสางพระครูยอดแก้วตกใจตื่น ได้เล่าความฝันให้พระสงฆ์ทั้งปวงฟัง แล้วพระสงฆ์ก็พากันออกไปบิณฑบาต พอเวลาสายเมื่อพระสงฆ์กลับมาวัด ได้เห็นสามเณรรูปหนึ่งอายุราว ๑๓-๑๔ ปี นั่งอยู่ในวัด พระสงฆ์จึงถามสามเณรว่ามาจากไหน สามเณรน้อยตอบว่ามาจากบ้าน กะลึมเมืองพาน เป็นศิษย์ของพระครูลึมมอง เที่ยวแสวงหาที่เรียนหนังสือ
    • ซึ่งก็เป็นเหตุการณ์ที่มีอยู่ทั่วไปในสมัยโน้น คือถ้าใครต้องการศึกษาเล่าเรียน ต้องดั้นด้นไปหาสำนักอาจารย์ไกลๆ เพราะไม่มีที่เรียนหนังสือมากเหมือนสมัยนี้
                คำว่า 'กะลึมเมืองพาน' นั้น มีผู้ให้ความเห็นว่า คือหมู่บ้านที่อยู่ติดเชิงเขาภูพาน อันเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธบาทบัวบก ในเขตตำบลเมืองพาน อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี ในสมัยปัจจุบัน
    • พระสงฆ์ได้นำเรื่องที่ได้ไต่ถามสามเณร ขึ้นไปกราบเรียนต่อพระครูยอดแก้วบนกุฏิ และได้รับสามเณรนั้นไว้ในความอุปการะต่อไป ท่านพระครูยอดแก้วให้สามเณรท่องบทสวดมนต์ต่างๆ จนถึงพระปาติโมกข์ ซึ่งเป็นวินัยสงฆ์ทั้งหมด ๒๒๗ ข้อ สามเณรก็ท่องได้แม่นยำ จนสามารถสวดได้คล่อง ท่านพระครูยอดแก้วจึงให้สามเณรท่องพระสูตรต่างๆ ก็สามารถท่องจำได้หมด แล้วท่านพระครูยอดแก้วก็สอนพระไตรปิฎก ตั้งแต่ธรรมบทภาคแรกถึงภาคแปด และให้เล่าเรียนพระคัมภีร์ใดๆ สามเณรก็สามารถเล่าเรียนได้หมดสิ้น เอาหนังสือในหีบบนหอไตรมาให้สามเณรดู สามเณรก็รอบรู้ทุกพระคัมภีร์ ไม่มีผู้ใดจะเปรียบได้ จึงเห็นว่าสามเณรเป็น 'เด็กอัจฉริยะ' โดยแท้
    • อยากจะเล่าเสริมประเด็นสามเณรอัจฉริยะนี้สักเล็กน้อย บังเอิญนึกขึ้นมาได้ว่า เคยได้ฟังท่านเจ้าพระคุณสมเด็จพระมหาธีราจารย์ วัดชนะสงคราม เล่าให้ฟังนานแล้ว เกี่ยวกับกิตติศัพท์ของสามเณรน้อยอัจฉริยะรูปหนึ่ง ที่เล่าลือกันนักหนาว่ามีความจำเป็นเลิศว่า ครั้งหนึ่งมีผู้มากราบทูลสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรสทราบเกี่ยวกับเรื่องนี้ ดูเหมือนพระองค์จะไม่ทรงเชื่อเท่าไร จึงมีพระบัญชาให้เรียกสามเณรมาสอบถาม แล้วมีรับสั่งให้สามเณรไปฟังพระองค์ทรงแสดงพระธรรมเทศนา และเมื่อถึงเวลาสมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ ทรงเทศน์ สามเณรก็ไปฟัง สมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ ก็ดำรัสให้สามเณรทบทวนตามดังที่พระองค์ได้แสดงมานั้น ปรากฏว่าสามเณรว่าได้เหมือนกับจดบันทึกเลยทีเดียว พระองค์ถึงกับประทานผ้าไตรเป็นรางวัลสำหรับความสามารถของสามเณร ที่เล่ามานี้ก็เพื่อแสดงให้เห็นว่าเรื่องที่เราไม่นึกว่าจะเป็นไปได้ ก็เคยมีมาเหมือนกัน ยังมีตัวอย่างอีกมากมายที่แสดงถึงความสามารถของมนุษย์ในแง่ต่างๆ แต่สำหรับคนที่ปัญญาทึบจริงๆ นั้น ก็มีอยู่ไม่น้อย ไม่จำเป็นต้องพูดถึง

    •  กิตติศัพท์ของสามเณร ที่ว่าเป็นผู้มีความรู้แตกฉานในพระธรรมวินัย หรือว่าเป็นผู้มีความรู้ด้านพระปริยัติดีเยี่ยมนี้ ได้เลื่องลือไปถึงพระเจ้ากรุงเวียงจันทน์ พระองค์ทรงโสมนัสและศรัทธา จึงทรงจัดผ้าไตรมาถวาย และยกย่องสามเณรขึ้นเป็น 'ราชาจัว' หรือ 'ซาจัว' แต่นั้นมาเรื่องนี้ก็ได้ระบือไปทั่วอาณาเขตนครเวียงจันทน์
                ผ้าไตร หรือไตรจีวร คือเครื่องนุ่งห่มสำหรับพระภิกษุสามเณรในเบื้องต้น ประกอบด้วยผ้า ๓ ผืน คือ ผ้าสบง (ผ้านุ่ง) ผ้าจีวร (ผ้าห่มคลุม) และผ้าสังฆาฏิ (ผ้าพาดบ่า) การได้รับพระราชทานผ้าไตรจากพระเจ้าแผ่นดิน ถือว่าได้รับการยกย่องเชิดชูอย่างสูง จากพระประมุขของบ้านเมือง การได้รับพระราชทานผ้าไตรจีวรนั้น ถือว่าเป็นรางวัลที่เหมาะสมที่สุดสำหรับพระสงฆ์ในศาสนาพุทธ คุณค่านั้นไม่ได้อยู่ที่ผ้าไตร แต่ผ้าไตรนั้นเป็นสัญลักษณ์ที่เป็นรูปธรรม และเหมาะสมสำหรับถวายผู้ดำรงเพศบรรพชิต และที่ถือว่าเป็นกรณีพิเศษอีกอย่างก็คือ
    • การที่สามเณรได้รับสมณศักดิ์เป็น 'ราชาจัว' หรือ 'ซาจัว' นั้น ก็ถือว่าเป็นการยกย่องที่พิเศษยิ่ง เพราะผิดธรรมเนียมที่เคยมีมา โดยปกติแล้วสามเณรจะไม่ได้รับสมณศักดิ์ หรือการยกย่องในตำแหน่งทางสงฆ์เลย แม้จะสอบเปรียญธรรมได้ก็ไม่ได้รับแต่งตั้งให้เป็น มหาเปรียญ แต่จะให้ใช้อักษรย่อว่า ป. ต่อท้ายชื่อหรือนามสกุลเท่านั้น เมื่อบวชเป็นพระแล้วจึงจะเรียกว่าพระมหา ส่วนคำว่า จัว นั้น ในภาษาลาวหมายถึงสามเณรทั่วไป แต่คำว่า 'ราซา' หรือ 'ซา' นั้นเป็นคำยกย่อง หรือเป็นสมณศักดิ์แน่นอน ตามธรรมดาสมณศักดิ์ในล้านช้างหรือประเทศลาว หรือในภาคอีสานของประเทศไทยสมัยก่อน จะเริ่มต้นจากพระที่มีคุณสมบัติเหมาะสม ชั้นแรกจะเป็น 'สำเหล็ด' หรือ 'สำเด็ด' (สมเด็จ) ต่อไปก็เป็น 'ซา' (พระราชาคณะ) แล้วก็เป็น 'คู' (พระครู) ดูแล้วจะกลับกันกับที่ใช้อยู่ในประเทศไทยในปัจจุบัน ซึ่งเริ่มต้นที่พระ ครูก่อน แล้วจึงมาเป็นพระราชาคณะ และ
    • สุดท้ายจึงเป็น สมเด็จ แต่ พระครูโพนสะเม็ก ได้รับสมณศักดิ์ตั้งแต่เป็นสามเณร แล้วยังข้ามชั้นจาก 'สำเหล็ด' เป็น 'ซา' คือ ราชาคณะเลย อย่างไรก็ดี เมื่อพิจารณาจากการที่ราชาจัวมีสติปัญญาเป็นเลิศ มีผลการศึกษาเล่าเรียนยอดเยี่ยม จึงเห็นได้ว่าท่านเป็นอัจฉริยะ เป็นบุคคลพิเศษสมควรจะได้รับอะไรเป็นพิเศษด้วย ในสมัยปัจจุบันการเป็นผู้มีสติปัญญาเป็นเลิศ คิดอะไรได้เป็นพิเศษ หรือเป็น 'คนเรียนเก่ง' ก็มักจะได้รับความเคารพนับถือ หรือได้รับรางวัลตอบแทนเป็นพิเศษ เช่นได้รับ 'เกียรติบัตร' หรือได้รับพระราชทานเครื่องราช หรือได้รับทุนการศึกษา เป็นต้น ในประเทศไทยได้มีธรรมเนียมปฏิบัติอย่างหนึ่งสืบเนื่องมาจนถึงทุกวันนี้ คือผู้ใดสอบไล่ความรู้พระปริยัติธรรมได้เปรียญธรรม ๙ ประโยค (ป.ธ. ๙) ซึ่งเป็นชั้นสูงสุดแต่ยังเป็นสามเณร มีสิทธิขอพระราชทานเป็น 'นาคหลวง' คืออุปสมบทเป็นพระภิกษุ โดยได้รับพระบรมราชูปถัมภ์จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ถือว่าเป็นเกียรติประวัติอันสูงยิ่งในชีวิตของผู้ได้รับพระราชทานเช่นนั้น ยกตัวอย่างเช่น ในรัชกาลที่ ๕ สามเณรปลด วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปริณายก, ปลด กิตฺตโสภโณ, วัดเบญจมบพิตร) สอบได้เปรียญธรรม ๙ ประโยคเป็นองค์แรก และได้รับพระราชทานเป็นนาคหลวงในรัชกาลนั้น และได้ย้ายมาอยู่ที่วัดเบญจมบพิตร อันเป็นวัดที่พระองค์ทรงสร้างขึ้นใหม่ ในรัชกาลปัจจุบันก็เช่นเดียวกัน สามเณรเสถียรพงษ์ วรรณปก วัดทองนพคุณ สอบเปรียญธรรม ๙ ประโยคได้เป็นองค์แรก และได้บวชเป็นนาคหลวงเช่นเดียวกัน โดยมีสมเด็จพระสังฆราชวัดสระเกษเป็นพระอุปัชฌาย์ อนึ่ง ในรัชกาลนี้ก็มีสามเณรสอบเปรียญธรรม ๙ ประโยคได้หลายรูป และดูเหมือนว่าทุกรูปจะได้เป็นนาคหลวงหมดเวลาอุปสมบท เพราะถือเป็นพระราชประเพณีอย่างหนึ่ง อย่างเช่นเวลาพระเณรที่สอบเปรียญธรรม ๙ ประโยคได้ เวลาไปรับพัดเปรียญที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในวันฉัตรมงคล ตอนกลับวัดจะมีรถหลวงตราครุฑไปส่งถึงวัด นัยว่าเป็นธรรมเนียมมาแต่สมัยรัชกาลที่ ๕
    • พอราชาจัวมีอายุครบ ๒๐ ปี พอที่จะอุปสมบทได้ พระเจ้ากรุงเวียงจันทน์ ก็ทรงนิมนต์ราชาจัวให้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ราชาจัวจึงกราบนมัสการท่านพระครูยอดแก้วว่า ถ้าหากจะอุปสมบทราชาจัวแล้ว ขอให้นิมนต์พระสงฆ์มานั่งหัตถบาสให้ครบ ๕๐๐ รูป และให้ทำพิธีอุปสมบทในโบสถ์น้ำ
    • การนั่งหัตถบาสคือการนั่งล้อมทำสังฆกรรมของพระสงฆ์ นั่งระยะห่างกันไม่เกินช่วงแขน ส่วนโบสถ์น้ำนั้นเรียกในทางพระวินัยว่าอุทกุกเขปสีมา ที่ต้องใช้น้ำหรือแม่น้ำนั้น ก็เพราะถือว่าแหล่งน้ำเป็นที่สาธารณะ ไม่มีใครครอบครองเป็นเจ้าของ เมื่อไม่มีโบสถ์ที่เป็นอาคารที่ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา จึงเลือกใช้สิ่งที่ดีและง่ายแก่การปฏิบัติ คือสีมาน้ำนั่นเอง
      เมื่อท่านพระครูยอดแก้วไปถวายพระพรพระเจ้ากรุงเวียงจันทน์ ให้ทรงทราบแล้ว พระองค์ไม่ทรงขัดข้อง ทรงรับสั่งให้ท้าวพระยาจัดหาเรือใหญ่มาผูกติดกันเป็นเรือขนานทำเป็นโบสถ์น้ำ โบสถ์ที่จะจุพระสงฆ์นั่งหัตถบาส ๕๐๐ รูป และญาติโยมที่มาร่วมในพิธีอุปสมบทอีก คงจะมีขนาดใหญ่ไม่น้อย โบสถ์น้ำหรือสีมากลางน้ำนี้ ในครั้งนั้นกล่าวกันว่าอยู่กลางแม่น้ำโขง ระหว่างนครเวียงจันทน์กับอำเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคายในปัจจุบัน

    •  ครั้นถึงกำหนดวันเวลาที่จะอุปสมบท ก็ได้ทำการแห่ราชาจัวไปยังสีมาน้ำ พระอุปัชฌาย์ พระกรรมวาจาจารย์ กับพระสงฆ์ที่จะมาร่วมนั่งหัตถบาส ๕๐๐ รูป และพระเจ้ากรุงเวียงจันทน์ ทั้งข้าราชบริพาร และญาติโยมที่มาร่วมพิธีได้มาพร้อมกันที่สีมาน้ำ แล้วพิธีอุปสมบทก็ดำเนินการไป เมื่อพระภิกษุใหม่ขอนิสัยเสร็จ ขณะที่พระกรรมวาจาจารย์จะให้อนุสาสน์ แพขนานสีมาน้ำได้จมลง พระสงฆ์ทั้งปวงต้องว่ายน้ำขึ้นฝั่ง ผ้าจีวรเปียกทุกรูป แต่พระภิกษุบวชใหม่ไม่เปียก สบงจีวรยังแห้งอยู่ พระสงฆ์ทั้งปวงเห็นเป็นอัศจรรย์ยิ่งนัก พระเจ้ากรุงเวียงจันทน์ทรงปรีดาปราโมทย์เป็นที่ยิ่ง
    • ปรากฏการณ์ครั้งนี้เป็นปาฏิหาริย์ครั้งแรกของท่านพระครูโพนสะเม็ก ตามประวัติของท่านปรากฏว่ามีปาฏิหาริย์เกิดขึ้นหลายครั้ง แต่จะขอกล่าวถึงเฉพาะครั้งแรกนี้เท่านั้น ผู้ที่สนใจเรื่องปาฏิหาริย์ของท่านครั้งอื่นๆ อาจหาอ่านได้จากตำนานหรือหนังสือเกี่ยวกับประวัติของท่าน ซึ่งได้แจ้งไว้ในหนังสืออ้างอิงท้ายหนังสือนี้แล้ว ปริยัติคู่กับปฏิบัติ ครั้นอุปสมบทได้ครบหนึ่งพรรษา พระเจ้ากรุงเวียงจันทน์ก็ทรงจัดเครื่องอัฐบริขารมาถวาย แล้วได้พร้อมกับคณะสงฆ์แต่งตั้งพระภิกษุใหม่ขึ้นเป็นพระครู และให้จำพรรษาอยู่ที่วัดโพนสะเม็ก
    • ในนครเวียงจันทน์ ประชาชนจึงเรียกท่านว่า พระครูโพนสะเม็กมาจนถึงทุกวันนี้ การถวายอัฐบริขารแก่พระภิกษุใหม่ ของพระเจ้ากรุงเวียง จันทน์ ก็คงเนื่องในวาระสำคัญที่พระภิกษุใหม่ได้รับสมณศักดิ์เป็นพระครู อนึ่งวัดโพนสะเม็กในครั้งกระโน้น กล่าวกันว่าตั้งอยู่ที่บริเวณโรงเรียนเทคนิคในนครเวียงจันทน์ทุกวันนี้๑๕ (หรือโรงเรียนสรรพวิชา)          
    • อันความรู้ธรรมะของท่านพระครูโพนสะเม็ก ที่ได้ศึกษาเล่าเรียนมาอย่างแตกฉานครบถ้วนบริบูรณ์ตามที่กล่าวมานั้น เรียกว่าพระปริยัติ เป็นความรู้เชิง 'ทฤษฎี' คือความรู้ในพระคัมภีร์หรือใน ตำรา จะบังเกิดผลอย่างแท้จริงก็ต่อเมื่อได้นำไปใช้ที่เรียกว่า 'ปฏิบัติ' เมื่อได้เป็นพระครูอยู่ที่วัดโพนสะเม็ก ปรากฏว่าท่านพระครูได้ปฏิบัติธรรมจนได้ 'บรรลุธรรม' คือท่านได้ 'อยู่รักษาวินัยสิกขาบริบูรณ์ ได้บรรลุถึงอภิญญา ๕ และสมาบัติ ๘ สำเร็จไปด้วยญาณ'
    • การปฏิบัติธรรมของท่านพระครู คือการรักษาสิกขาบทวินัยได้ครบบริบูรณ์ สิกขาบทวินัยคือแบบแผนเพื่อให้พระภิกษุได้ประพฤติปฏิบัติในระเบียบอันเดียวกัน เพื่อความสงบเรียบร้อยของหมู่คณะ และเป็นที่นำมาซึ่งความเลื่อมใสสำหรับผู้พบเห็น เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าวินัย ส่วนคำว่า สิกขา นั้น คือข้อที่จะต้องศึกษาและฝึกอบรมหรือข้อที่จะพึงประพฤติปฏิบัติ สำหรับผู้ที่เข้ามาบวชในพระพุทธศาสนา มีประเด็นหลักอยู่ ๓ ประการ ได้แก่ ศีล สมาธิ ปัญญา รวมเรียกว่า 'ไตรสิกขา' ซึ่งครอบคลุมการปฏิบัติธรรมทั้งมวลในพระพุทธศาสนา โดยมีความเกี่ยวพันกันดังนี้คือ ศีล เป็นเครื่องควบคุมกายวาจาให้เรียบร้อย

    • สมกับได้ชื่อว่าเป็นสมณะซึ่งแปลว่าผู้สงบ ไม่มีเรื่องวุ่นวายเดือดร้อน พร้อมที่จะก้าวไปสู่การปฏิบัติขั้นต่อไปเพื่อให้ได้ สมาธิ คือสภาพที่จิตใจมั่นคง ไม่เกิดความฟุ้งซ่านเพราะฤทธิ์อิฏฐารมณ์และอนิฏฐารมณ์ และการที่จะเข้าถึงความสงบแห่งจิตได้นั้น ต้องอาศัยการฝึกจิตให้มีสมาธิ จนสามารถบังคับจิตได้ หรือตั้งจิตให้อยู่ในอารมณ์ที่เป็นกุศลได้นานๆ คือจะให้จิตเกาะติดอยู่กับอารมณ์หรืองานใดๆ เป็นเวลานานเท่าใดก็ได้ ถ้าจิตเป็นสมาธิถึงขั้นนี้แล้ว ผู้นั้นก็ย่อมจะทำงานของตนสำเร็จได้ สมดังพระพุทธพจน์ว่า  'จิตฺตํ ทนฺตํ สุขาวหํ' ซึ่งแปลว่า จิตที่ฝึกได้แล้ว ย่อมนำสุขมาให้ ผลดีของสมาธิจิตที่เห็นได้อย่างหนึ่ง ก็คือทำให้ประสาทการรับรู้สิ่งต่างๆ มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยเฉพาะทางด้านการศึกษาเล่าเรียน
    • สมมุติว่าเด็กนักเรียนคนไหนมีสมาธิดี ก็จะเรียนหนังสือได้ดีกว่าเด็กที่มีสมาธิสั้น ฉะนั้นเพื่อที่จะให้จิตมีสมาธิเป็นเวลานาน ต้องอาศัยการฝึกฝนให้จิตหยุดนิ่งได้เป็นเวลานานๆ เพราะโดยธรรมชาติของจิตแล้ว จะไม่ค่อยหยุดนิ่ง พระพุทธเจ้าทรงเปรียบจิตของคนเรากับลิง (กปิจิตฺตํ) เพราะเหตุที่อยู่ไม่นิ่งเหมือนกับลิง และวิธีการฝึกก็คือให้บริกรรม หรือผูกจิตไว้กับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ในช่วงระยะเวลาที่เราต้องการ
    • ฉะนั้นจึงเกิดมีการนั่งสมาธิ คือนั่งกำหนดอารมณ์ของจิตนั่นเอง ซึ่งไม่สามารถจะพูดให้ละเอียดได้ในที่นี้ จะบอกได้ก็แต่เพียงว่ามีอยู่ถึง ๔๑ อย่างด้วยกัน และไม่ใช่มีเฉพาะแต่ในพระพุทธศาสนาเท่านั้น แม้ในอินเดียก่อนสมัยพุทธกาลก็มีแล้ว ฯพณฯ สุกิจ นิมมานเหมินท์ อดีตรองนายกรัฐมนตรีสมัยหนึ่ง ขณะที่ท่านดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตประจำอินเดียและศรีลังกา (ควบกัน ๒ ประเทศ) ได้เล่าให้ผู้เขียนฟังที่สถานเอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงโคลัมโบเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๔ ว่า 'เป็นที่น่าอัศจรรย์จริงๆ ที่ประเทศอินเดียนั้น โยคีนั่งเข้าฌานอยู่บนโขดหินท่ามกลางความหนาวเหน็บในฤดูหนาว และท่ามกลางแสงแดดอันร้อนระอุในฤดูร้อนเป็นเวลานานๆ ในอาการที่สงบนิ่งเหมือนหุ่น'
    • การที่โยคีสามารถทำได้เช่นนั้นก็เพราะท่านได้สมาธิชั้นสูง ไม่ใช่แสดงมายากล เป็นการทดสอบจิตของตนเอง แต่การที่จะปฏิบัติให้ได้ถึงขั้นนั้น เป็นสิ่งที่ทำได้ยากมาก เมื่อจิตเป็นสมาธิแล้ว ก็ใช่ว่าได้บรรลุธรรมะชั้นสูง มันเป็นเพียงมีจิตพร้อมที่จะพัฒนาให้เกิดดวงปัญญา คือการเข้าใจสภาวธรรมทั้งปวง เมื่อดวงปัญญานี้เกิดแก่พระโยคาวจรแล้ว ท่านก็จะถึงนิพพิทาคือความไม่กำหนัดยินดีในกามารมณ์ทั้งหลาย ไม่ติดไม่ข้องในสิ่งใดๆ อีกต่อไป แม้แต่สังขารร่างกายของท่านเอง ท่านก็ปล่อยวางได้ ไม่เกิดทุกข์เมื่อมันแปรปรวนไปตามสภาพของมัน
    • ดูเหมือนท่านพุทธทาสภิกขุพอจะเป็นอุทาหรณ์ได้ในเรื่องนี้ ถ้าจะเปรียบก็เหมือนกับเด็กที่เลิกเล่นตุ๊กตา เมื่อเขาเติบโตเป็นผู้ใหญ่แล้ว ฉะนั้น จึงน่าเห็นใจพระกรรมฐานทั้งหลาย ที่ว่าดังๆ นั้น ยังมีพลาดพลั้ง ตกไปอยู่ภายใต้อำนาจกิเลสของตน เกิดการละเมิดสิกขาบทวินัยขึ้น กลายเป็นเรื่องไม่ดีไม่งามใหญ่โต ทำให้พระพุทธศาสนามัวหมอง ทั้งนี้ก็เพราะท่านยังไม่ได้ปัญญาดวงนี้ เพียงแต่ท่านสามารถข่มกิเลสได้เท่านั้น หากเผลอเมื่อไร หรือลุแก่อำนาจมันเมื่อไร เป็นเกิดเรื่องแน่ เพราะโลกสมัยนี้เต็มไปด้วยสิ่งที่ยั่วยวนกิเลสนานัปการ (diversity of temptations) พระนักปฏิบัติที่ได้ดวงปัญญานี้ จะแสดงออกมาให้เห็นทางปฏิปทาของท่าน เช่น ไม่ยึดติดหรือยินดีในวัตถุกามใดๆ ไม่ติด ไม่ห่วงหาอาลัย ไม่สะสมสมบัติข้าวของอะไร จะไปไหนก็ไปได้สบายเหมือนนกบินไปในอากาศ มีผู้กล่าวว่าท่านพระครูโพนสะเม็กได้บรรลุถึงภูมิธรรมชั้นนี้
    • เมื่อท่านพระครูโพนสะเม็กได้ปฏิบัติธรรมตามไตรสิกขาครบถ้วนบริบูรณ์แล้ว ก็ได้บรรลุถึงธรรมชั้นสูง คือ อภิญญา สมาบัติ และญาณ ธรรมทั้ง ๓ ข้อนี้เป็นองค์ประกอบซึ่งกันและกัน หรือเป็นอันเดียวกันและสนับสนุนซึ่งกันและกันดังนี้คือ อภิญญา ได้แก่ 'ความรู้ยิ่ง' ในพระพุทธศาสนา คือแสดงฤทธิ์ได้ มีหูทิพย์ มีตาทิพย์ อ่านใจผู้อื่นได้ และระลึกชาติได้ รวมทั้ง ๕ ประการนี้เรียกว่า 'อภิญญา ๕' การได้อภิญญาก็คือการได้ญาณนั่นเอง ญาณคือความสามารถหยั่งรู้เป็นพิเศษที่เกิดจากอำนาจสมาธิและปัญญา เป็นองค์คุณที่สำคัญยิ่งในการปฏิบัติธรรม เป็นองค์หนึ่งในไตรสิกขาตามที่กล่าวแล้ว แต่ไม่ใช่ญาณ ๓ ที่พระพุทธเจ้าบรรลุในยามทั้ง ๓ ก่อนที่จะได้ตรัสรู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะญาณชนิดนี้เป็นคุณวิเศษจำเพาะพระพุทธเจ้าเท่านั้น สมาบัติ ได้แก่การบรรลุฌาน ซึ่งมี ๘ ชั้นคือ รูปฌาน ๔ และ อรูปฌาน ๔ จึงเรียกว่า 'สมาบัติ ๘'
    • ภาวะที่จิตสงบแน่วแน่เนื่องมาจากการนั่งสมาธิ กำหนดจิตไว้กับอารมณ์อย่างหนึ่งจนจิตสงบนิ่ง มีการใช้พลังงานในร่างกายน้อยที่สุดและได้นานที่สุด การทำได้อย่างนั้นในทางพระพุทธศาสนาท่านเรียกว่า เข้าฌาน ซึ่งแบ่งออกเป็น ๘ อย่างดังกล่าว ตามองค์ประกอบของฌาน แต่ถ้ายังเป็นขั้นต่ำอยู่เรียกว่า 'เข้าสมาธิ' ซึ่งก็สามารถแบ่งออกไปตามองค์ประกอบเหมือนกัน เรื่องฌานนี้มีรายละเอียดค่อนข้างมาก จะขอไม่กล่าวถึงในที่นี้ แต่พอสรุปสั้นๆ ได้ว่า การเข้าฌานโดยอาการปรากฏ ก็เหมือนกับการนั่งสมาธินั่นเอง แต่พลังและองค์ประกอบแตกต่างกันมาก ไม่สามารถจะอธิบายให้เข้าใจได้โดยทางทฤษฎีอย่างเดียว จะต้องปฏิบัติจนเกิดประสบการณ์ส่วนตัวจึงจะรู้จริง ถึงขั้นที่เรียกว่ารู้แจ้งแทงตลอด
    • เมื่อท่านพระครูโพนสะเม็กได้บรรลุคุณธรรมขั้นสูงดังกล่าว จะว่าสิ่งใดก็ถูกต้องแม่นยำและสำเร็จได้ดังใจนึก ประชาชนพากันนิยมนับถือเป็นอันมาก ต่างก็ยกย่องสรรเสริญบุญบารมีของท่าน จนพระเจ้ากรุงเวียงจันทน์ทรงโปรดมาก และทรงรับเป็นองค์อุปถัมภก และท่านพระครูก็กลายเป็นพระอาจารย์สอนกรรมฐานแก่สานุศิษย์ทั้งหลาย จึงเป็นที่เคารพนับถือของประชาชนเป็นอันมาก๑๘
    • ซึ่งในสมัยโบราณนั้น การฝึกสมาธิหรือการเข้ากรรมฐานถือเป็นกิจของสงฆ์ที่สำคัญอย่างหนึ่ง เพราะการเรียนแบบได้ใบประกาศนียบัตร หรือปริญญาบัตร ที่สามารถ นำไปเป็นหลักฐานสมัครทำงานได้ เพิ่งจะมีในสมัยรัชกาลที่ ๕ เมื่อ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงปฏิรูปการศึกษาของพระสงฆ์ใหม่ โดยร่างหลักสูตรปริยัติศึกษา ทั้งแผนกธรรมและแผนกบาลี และพระองค์ไม่ได้นำเอาวิชากรรมฐานเข้าไว้ในหลักสูตรด้วย โดยทรงให้เหตุผลว่าวัดผลได้ยาก จึงปล่อยให้ผู้สนใจหาศึกษาเอาเองตามสำนักพระอาจารย์ต่างๆ เหตุผลประการหนึ่ง ก็คงจะเป็นเพราะว่าพระองค์ไม่มีเวลาที่จะได้ปฏิบัติกรรมฐาน จนเกิดมีประสบการณ์ที่สามารถประเมินผลได้
    • เฉพาะเรื่องปฏิรูปการปกครองคณะสงฆ์และการปฏิรูปการศึกษา ซึ่งเดิมนั้นยังมิได้แยกเป็นการศึกษาทางโลก รู้จักกันแต่เพียงว่าการศึกษาเท่านั้น เพื่อสนองพระบรมราชโองการของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ก็เป็นภาระที่หนักอยู่แล้ว และดูเหมือนว่าจะไม่มีพระเถระรูปอื่นช่วยเหลือ คงจะเป็นเพราะพระองค์ทรงมีพระปรีชาสามารถเกินกว่าพระสงฆ์ธรรมดา
    • ความจริงสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรสนั้น ทรงมีความรู้ปราดเปรื่องมาก พระองค์ทรงแตกฉานในภาษาบาลี สันสกฤต และอังกฤษ เยี่ยงลูกเจ้านายเชื้อพระวงศ์ทั้งหลายในเวลานั้น และทรงมีงานนิพนธ์ต่างๆ เป็นจำนวนมาก การอพยพหนีราชภัย เมื่อปี พ.ศ. ๒๒๓๓ พระเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราช พระเจ้ากรุงเวียงจันทน์ เสด็จทิวงคต๑๙ ขณะนั้นพระองค์ทรงมีพระราชโอรสองค์หนึ่ง ซึ่งยังทรงพระเยาว์ มีพระชนมายุเพียง ๑๓ พรรษา พระนามว่าเจ้าองค์หล่อ และพระมเหสีองค์หนึ่ง (คือพระนางสุมังคลา) ซึ่งกำลังทรงพระครรภ์ได้ประมาณ ๖-๗ เดือน เมื่อพระเจ้าสุริยวงศาเสด็จทิวงคต นั้น พระยาเมืองแสนซึ่งเป็นเสนาบดีผู้ใหญ่อยู่ ได้ชิงราชสมบัติและขึ้นครองราชย์ในกรุงเวียงจันทน์ แล้วจะรับเอาพระนางสุมังคลาไปเป็น มเหสีด้วย แต่พระนางไม่ยินยอม