วันศุกร์ที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2555

ความพยายามของแผ่นอินโดออสเตรเลียที่จะมุดแผ่นซุนด้า


MAP4.8 2012/04/27 01:40:53 2.192 89.716 15.6 NORTH INDIAN OCEAN

10-degree Map Centered at 0°N,90°E






บริเวณนี้เป็นรอยย่นของ แผ่นอินโด-ออสเตรเลีย ห่างจากขอบแนวมุดตัวประมาณ 500 กิโลเมตร เกิดขึ้นเมื่อหลายล้านปีก่อนขณะที่แผ่นอินโดฯพยายามมุดสอดเข้าใต้แผ่นซุนด้า แต่เนื่องจากแผ่นทวีปซุนด้ามีความแข็งแกร่งกว่า แผ่นอินโดฯจึงเกิดการโก่งตัว เป็นแนวภูเขาใต้ทะเล ไหล่เขาด้านตะวันออก เป็นหน้าผาสูงชันหลายร้อยเมตร เป็นแนวเดียวกับที่นักวิชาการไทยคณะของ ดร.อานนท์ สนิทวงศ์ ทำการสำรวจและพบ biological mud volcano แต่อยู่ด้านใต้ลงไป การไหวตัวครั้งนี้เกิดจากการขยายตัวออกของแนวรอยต่อแผ่นเปลือกโลกอินโดออสเตรเลียกับแผ่นอเมริกาเหนือ ที่บริเวณแนวกลางมหาสมุทรอินเดียหรือ mid-indian ocean ridgd ส่งแรงผลักแผ่นอินโดฯให้เคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ดันปลายแผ่นส่วนที่ติดกับแผ่นซุนด้าให้ลึกเข้าไปอีก ทำให้แผ่นซุนด้าค่อยๆตะแคงไปทางตะวันตก เทน้ำเข้าท่วมชายฝั่งประเทศอินโดนีเซียอย่างต่อเนื่องต่อไป
แต่เมื่อถ้าเราตรวจสอบข้อมูลการไหวในบริเวณ mid-indian ocean Ridge ในวันเดียวกันนี้ปรากฎว่าไม่ปรากฎ อาการให้เห็น แล้วแผ่นอินโดฯ เอาแรงผลักของการไหวครั้งนี้มาจากไหน หรือว่าปรากฎการณ์นี้จะไปสอดคล้องกับคำอธิบายของสายนอกโลกที่บอกว่า เมื่อ PX โคจรเคลื่อนที่เข้าใกล้โลกมากขึ้น จะกระตุ้นให้แมกม่าในแนว ocean Ridge ทั้งหลายไหลเวียนอย่างผิดปกติ และส่งแรงผลักให้เปลือกโลกทั้งหลายที่เชื่อมต่อกันก็อาจเป็นได้ คงต้องคอยจับตาดูกันอย่างใกล้ชิดต่อไป
__________________
โมฆะแมน
มาคนเดียว ไปคนเดียว

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kiatp123 : วันนี้ เมื่อ 08:00 PM